วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างงานวิจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ตัวอย่างงานวิจัยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยฉบับเต็มและคัดลอกส่วนที่ท่านต้องการได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader
http://www.prapasara.co.uk/Adobe%20Acrobat%20Reader.html

การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ B-SLIM Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิริรัตน์ มงคล
การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนภูมิกราฟิก / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กฤติกา ศรียงค์
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามสไตล์การเรียนรู้ของเดวิด คอล์บ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นลินรัตน์ ฤทธิวัฒนานุสรณ์
การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบ B-SLIM model โรงเรียนบ้านปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิชัย ศรีมหันต์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญรักษ์ ชนูนันท์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือประกอบการใช้สื่อการสอนวีซีดีเรื่องการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาสาระวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เพ็ญศรี อินทร์อุดม
ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการอ่านแบบบูรณาการชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อารยา คำก้อน
ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลวิธี DR-TA / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุดร วิชัยวงษ์
ผลของการใช้แผนผังความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ลักษณาพร คชโคตร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วรรณาภรณ์ สกุลซ้ง
การใช้กลวิธีช่วยจำเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุดท้าย สัตนันท์
การใช้สื่อของจริงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อำนวยพร ภูกุดแก้ว
การใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิภา อิโน
การประเมินผลหลักสูตรระยะสั้นภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เยาวตรี ศรีหาวงศ์
การเปรียบเทียบการอ่านออกเสียงคล่องและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเทคนิคการใช้เทปช่วยและเทคนิคแบบเพื่อนช่วยเพื่อน / วิทยานิพนธ์ ของ โสม รักเกียรติวินัย
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์วิชาภาษาอังกฤษเรื่อง My Self and Family ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนร่วมมือแบบทีม (TAI) / วิทยานิพนธ์ ของ ปิยะภรณ์ ชัยสงค์
การฝึกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อังคณา จันทะแสง
การพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ศิวพร นิลสุข
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บงกช สุทธิประภา
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลอง / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บวรจิต พลขันธ์
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อวีซีดี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญเพ็ง อินลา
การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิควาดภาพตามคำบอกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชิดชนก มรรคผล
การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุพรรณี บุญเพิ่ม
การพัฒนาทักษะการอ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือพิมพ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชุดารัตน์ น่วมจิตร์
การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่องการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พิศิษฐ์ วรรณคำ
การพัฒนาบุคลากรครูภาษาอังกฤษโรงเรียนมุกดาหารในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ มณเฑียร ถ่อเงิน
การพัฒนาบุคลากรครูภาษาอังกฤษโรงเรียนมุกดาหารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุษารัชฏ์ วิสากล
การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่องการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ประภาภรณ์ แก้วพิกุล
การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พัชราภรณ์ ฐานะ
การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านการอ่านและการเขียนโดยการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อ้อยทิพย์ สุรภักดิ์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วันเพ็ญ ไขลายหงษ์
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปทีที่ 6 โดยใช้สื่อ วี ซี ดี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ธนพนธ์ โพธิ์อ่อน
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสือนิทานชาดกฉบับภาษาอังกฤษ / การศึกษาคันคว้าอิสระ ของ อุทัยวรรณ สุระทิพย์
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทังทวิสเตอร์ คำคล้องจองและโคลง เพื่อฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ลดาวรรณ สุทธิสินธุ์
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้หนังสือประกอบภาพเพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ กฤติยา ศิริพันธ์
การพัฒนาสื่อประสมเพื่อเสริมสร้างทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นุชนารถ ภูมาศ
ผลการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้การอ่านตามแนวการสอนมหภาษาและการจัดการเรียนรู้การอ่านตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร / วิทยานิพนธ์ ของ กันทิมา จันทร์สองสี
ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 โดยใช้สื่อวิดีทัศน์เพลงประกอบ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วันวิไล เรืองแสน
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อ ดี วี ดี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ณัฐชนา ระวิวงศ์
ผลการใช้บอร์ดเกมที่มีต่อการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมจิต จันจุฬา
ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิพากษ์วิจารณ์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน / วิทยานิพนธ์ ของ ประวิชญา ถาวร
ผลการเรียนเรื่อง Food and Health ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนและการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ / วิทยานิพนธ์ ของ เชวงศักดิ์ เสนาวงษ์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อิษมาส์ ทองอนันต์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ผสมผสานแนวคิดสไตล์การเรียนรู้ โดยใช้อินเทอร์เน็ต ชั้นประถมศึกษาปี่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อารยา พิณนอก
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามสไตล์การเรียนรู้ของแมคคาร์ธี / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชนาภา ไพศาล
การใช้กลวิธีอภิปัญญาในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชมภูนุช เกตุแก้ว
การใช้อนุทินโต้ตอบเพื่อสะท้อนผลการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วันชัย บัวกอง
การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและความพึงพอใจที่มีต่อวิธีจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ ศิวาพร บุญประจักษ์
การเปรียบเทียบผลการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนบนเว็บกับการสอนปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ วิภาพร ศรีสุลัย
การเปรียบเทียบผลการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยวิธีอุปนัยและวิธีนิรนัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / วิทยานิพนธ์ ของ ฐิตินันท์ กล้ารบ
การเปรียบเทียบผลของการใช้เทคนิคการชี้แนะด้วยวาจา การเสริมแรงทางสังคม และการชี้แนะด้วยวาจาควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ลัดดาวัลย์ วรพันธุ์
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมและการเรียนรู้ตามแบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ กรรณิการ์ โพธิ์ทอง
การฝึกใช้ยุทธศาสตร์ทางอ้อมด้านอภิปัญญาในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกรัง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญเพชร ไชยนา
การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบมหภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วัลลิณีย์ ชื่นชมภู
การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุรีพร อินประโคน
การพัฒนาการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยใช้สื่อภาพยนตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุวิทย์ คำมณี
การพัฒนากิจกรรมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมสมัย วัชรินทร์รัตน์
การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้อีเมล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อัญชลี ทองสมบัติ
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมสื่อสาร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ยุทธพงษ์ บุญภา
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมโครงงานชิ้นงาน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อรุณลักษณ์ คำมณี
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างเรื่องโดยใช้แผนภูมิกราฟิกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สมนึก กินรี
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ วิไลวัลย์ ละเอียด
การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นุชจรินทร์ จั่นบำรุง
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้การแสดงละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อลิษา ประกอบเสียง
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมใช้พจนานุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ประเทือง ประจวบสุข
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ตามยุทธศาสตร์การเรียนรู้ด้านปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / วิทยานิพนธ์ ของ ลักษณาวดี ขุนวิช่วย
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาตามวงจรการเรียนรู้ของเดวิด คอล์ป ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชนัญชิดา ปภัสโร
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไวยากรณ์เพื่อการสื่อสารโดยใช้เทคนิค EEE ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รุ่งทิวา ไขประภาย
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตามสไตล์การเรียนรู้ของเดวิด คอล์บ วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พัชราภรณ์ นวกะคาม
ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฏีว่าด้วยเหตุผลและอารมณ์ที่มีต่อเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 5 โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร จังหวัดร้อยเอ็ด / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อุมาพร ไวยารัตน์
การเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนบนเว็บกับการสอนปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ เสงี่ยม พนมเขต
การเปรียบเทียบผลการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนบนเว็บกับการสอนปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ วิภาพร ศรีสุลัย
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์กับการสอนโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา / วิทยานิพนธ์ ของ กนิษฐา ศิริวงษ์ขันธ์
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่องคำกริยา คำคุณศัพท์ คำบุพบท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนและการเรียนร่วมมือแบบ STAD / วิทยานิพนธ์ ของ ลำดวน ชาวไธสง
การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องคำศัพท์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายกับการเรียนตามปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ สุภาวดี ฦาชา
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ ความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่องการสะกดคำศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนเป็นรายบุคคลกับการเรียนเป็นกลุ่มย่อย / วิทยานิพนธ์ ของ ภาณุพงศ์ อุ่นเจริญ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทั้งสี่สาระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ / วิทยานิพนธ์ ของ ดรุณี เชาว์ศรีกุล
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็น คำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ เอนก ชาวไธสง
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ว่าที่ร้อยตรีนิพัฒน์ จันทร์โตพฤกษ์
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง Ouestion Words กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุธิดา ศรีโสภา
การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่องการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พิศิษฐ์ วรรณคำ
การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องคำบุพบท ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุจิตตรา ดาราเฉลิมกุล
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาวิชา / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ นัยนา ใหม่คามิ
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยใช้วิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / วิทยานิพนธ์ ของ รพีพรรณ ศรีไชยแสง
ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง คำศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / วิทยานิพนธ์ ของ วรรณเพ็ญ คิอินทิ


ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ



ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยฉบับเต็มและคัดลอกส่วนที่ท่านต้องการได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader
http://www.prapasara.co.uk/Adobe%20Acrobat%20Reader.html





การพัฒนาชุดฝึกการอ่านและการพูดภาษาอังกฤษเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดราชบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The development of reading and speaking English drill and practice package on tourist attractions in Ratchaburi province for the ninth grade students) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002264


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านภาษาอังกฤษเรื่องพุทธประวัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย กรุงเทพมหานคร ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003241


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเพื่อการเรียนรู้คำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทัพหลวง (The development of computer assisted instruction in integrating English language lesson to learn vocabulary for Prathomsuksa 4 students at Bantapluang School) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003580


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง คำคุณศัพท์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี (The development of call communicative grammar exercises on adjectives for Matthayomsuksa five students of Suantaeng Witthaya School, Suphan Buri) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003312


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่อง "Reported Speech" สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี (The development of computer assisted language learning lessons for teaching communicative grammar on “Reported Speech” for Mathayomsuksa five students of Benjamarachutit Ratchaburi School) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002777


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนศัพท์โดยเน้นการวิเคราะห์รูปแบบคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" จังหวัดสมุทรสาคร ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003233


การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับปัญหาของวัยรุ่นตอนต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหลวงพ่อวัดตาก้องอนุสรณ์ จังหวัดนครปฐม ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003465


การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการอ่านให้คล่องสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (The development of reading exercises by using the active reading comprehension activity for Mathayomsuksa four students of Rachinee Burana School, Nakhon Pathom) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002778


การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยเน้นประเด็นปัญหาวัยรุ่นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนยางคำพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น (The development of supplementary English reading materials based on teenagers' problems for Mattayomsuksa three students, Yangkampittayakom School, Khonkaen) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003325


การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นเนื้อหาทางด้วนวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (ตE 42104) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช (The development of English reading exercises focusing on content-based instruction : scientific and environmental issues in English 42104 for Matthayom Suksa 5 Students, Princess Chulabhorn’s College, Nakhon Si Thammarat) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002772


การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านอังกฤษด้วยตนเองด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม (The development of efl self-access supplementary reading materials based on sciences and technology context for first year students of Engineering and Industrial Technology Faculty, Silpakorn University, Sanamchan Campus, Nakhon Pathom) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003321


การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดตราดสำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตราด (The development of reading exercises based on local topics of Trat province for high-school students of Noensaiwittayakhom School, Trat) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002883


การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC (The development of learning outcomes on English reading and writing communication of the ninth grade students using the circ technique) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003144


การพัฒนาสื่อการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นสาระที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมของวัยรุ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003326


การพัฒนาสื่อเสริมทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The development of media for enhancing English vocabulary skills in everyday life by using cartoon animation for ninth graders) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002830


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมโครงงานแบบบูรณาการสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003226


การวิเคราะห์และประเมินหนังสือเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003323


การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยบทเรียนเกมคอมพิวเตอร์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครปฐม (The comparison of Prathomsuksa six students’ learning achievement and retention in learning English vocabularies between the game computer-oriented lessons and the lessons of computer assisted instruction) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002788


การสร้างแบบฝึกอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในธุรกิจสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ (The development of communicative business reading exercises for the third-year-vocational-certificate students in Daruna Ratchaburi Commercial School) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002779


ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (The result of using the electronic book to enhance English reading comprehension of the undergraduate students majoring in educational technology, Faculty of Education, Silpakorn University) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003476


ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง Food and drink วิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดอนตำลึง (Learning achievement by computer-assisted instruction lesson with cooperative learning on the topic of food and drink in English subject for matthayomsuksa 1 students at bandont amlueng school) ระดับ ปริญญาโท http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000002677


การเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (รูปแบบที่ 2) กับการสอนแบบเดิม / กัญณภัทร นิธิศวราภากุล.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Kannapat_N.pdf


การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเีรียน และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ระหว่างการเรียนผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกับการสอนแบบปกติ / อตินุช เตรัตน์.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Atinuch_T.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่อง My Lifestyle กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / สุรศิษฎ์ เกียรติธนะกูล.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Surasit_K.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องการเสริมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศัพท์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / อุษณีย์ รักษ์วิศิษฎ์กุล.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Ausanee_R.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง ABOUT ME กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 / สุทิน ถมครบุรี.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Suthin_T.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / รุ่งทิพย์ ทองชาติ.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Rungtip_T.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง "กิจวัตรประจำวัน" กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 / พรพรรณ พัฒนธาดาพงษ์.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Pornpun_P.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / ปวีณา ผาแสง.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Paweena_Ph.pdf



การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / สรวงสุดา สงรักษ์.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Soungsuda_S.pdf


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องอาชีพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) / ศิริพร หงษาครประเสริฐ.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Siriporn_H.pdf


คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / พิมพิไล ถือธรรม.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Adm/Pimpilai_T.pdf


บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / นุษรา พิมพิค่อ.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Nusara_P.pdf


ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง คำขยายและคำเชื่อมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 / กัลยา บูรณะกิจ.http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Gunlaya_B.pdf
การเปรียบเทียบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์กับบทเรียนสำเร็จรูปในการสอนซ่อมเสริมที่มีผลต่อความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / พชรวรรณ สุริโย.
การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการเขียน และความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนด้วยแบบฝึกการอ่านด้วยกระบวนการความคิดสร้างสรรค์กับการสอนตามคู่มือครู / ปิยนุช พัฒน์ภิรมย์.
การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูนเพื่อฝึกทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [electronic resource] / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุธาสินี บุญครอบ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการอ่านให้คล่องสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (The development of reading exercises by using the active reading comprehension activity for Mathayomsuksa four students of Rachinee Burana School, Nakhon Pathom) ระดับ ปริญญาโท


ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน

ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน

ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งโรงเรียน ให้ปฏิบัติและดำเนินการตามเงื่อนไขต่อไปนี้
1. เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนพร้อมหลักสูตร ให้จังหวัด(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1)พิจารณา ทั้งนี้ รูปแบบและ หัวข้อเรื่องในโครงการให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดท
2. ผู้เสนอโครงการต้องขอรับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับโดยสากลตามเงื่อนไข ระยะเวลาที่องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานกำหนดนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
3. โครงการจัดตั้งโรงเรียนผ่านความเห็นชอบของจังหวัดแล้ว ภายใน 1 ปี ถ้าไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และแจ้งให้จังหวัดทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ถือว่าโครงการนั้นสิ้นสุด
4. นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ฉบับนี้แล้ว ในการจัดตั้งโรงเรียน ผู้เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน กฎกระทรวง และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้อง


โรงเรียนเอกชน มาตรา 15(1)
• ประเภทสามัญศึกษา ระดับอนุบาล
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1

1. สถานที่
สถานที่และบริเวณที่ตั้งโรงเรียนต้องมีลักษณะกว้างขวางพอแก่กิจการของโรงเรียน และไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัยของนักเรียน มีรั้วแสดง ขอบเขต และจะต้องอยู่ห่างจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 300 เมตร เส้นทางคมนาคม ฯลฯ
2. ที่ดิน
2.1 ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นกรรมสิทธิ์ของ
ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้
ก. เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่ธรณีสงฆ์
หรือที่ขององค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
ข. เป็นที่ดินของเอกชน แต่ต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่า

สามปี
2.2 ที่ดินต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 90 ตารางวา
3. อาคารเรียน/ห้องเรียน และห้องประกอบ
อาคารเรียน การใช้อาคารเรียนระดับก่อนประถมศึกษาให้ใช้ได้ไม่เกินชั้นที่สอง และจะต้องมีห้องสุขาใน ชั้นที่สองด้วยห้องเรียน ห้องเรียนแต่ละห้องต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 35 ตารางเมตร และจะต้องเป็นห้องโล่ง ไม่มีเสา หรือสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอ มีทางเข้าออกสองทาง แต่ละทางต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตรถ้ามีทางเข้าออกทางเดียวต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.60 เมตร

ที่รับประทานอาหาร โรงเรียนต้องจัดให้มีโรงอาหาร มีโต๊ะ ม้านั่ง สำหรับรับประทานอาหาร
เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และมีน้ำดื่มน้ำใช้โดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะห้องส้วมและที่ปัสสาวะ ต้องจัดให้ เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ ถ้ามีนักเรียนชาย-หญิง ต้องแยกเป็น ห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง


ขั้นตอนที่ 2
ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียน ให้ยื่นเอกสารและดำเนินการดังนี้
1. โครงการจัดตั้งโรงเรียน
2. ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้แบบแปลน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมเอกสารประกอบ
ในกรณีที่ยังไม่มีอาคาร คือ
(1) แบบแปลน 3 ชุด ( ถ้าใช้แบบแปลนของส่วนราชการใดต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ใช้แบบแปลนของส่วนราชการนั้นด้วย)
(2) หนังสือรับรองแบบแปลนของสถาปนิก และวิศวกรพร้อม
สำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพจำนวน 1 ชุด
(3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน
ที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียนซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง
(4) รายการคำนวณโครงสร้าง 1 ชุด

3. ในกรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนมีอาคารที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ให้เตรียมเอกสารดังนี้
(1) แบบแปลน 3 ชุด
(2) หนังสือรับรองสภาพความมั่นคงของอาคารซึ่งรับรองโดยวุฒิวิศวกร
(3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน
ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง


การยื่นเรื่อง
ให้ยื่นเรื่องที่กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 หรือเขตอื่นซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน


ขั้นตอนที่ 3
เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้องแล้ว ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน
ดำเนินการยื่นเอกสาร ดังนี้
1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน (สช. 1) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
2. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
3. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
4. คำร้อง ร. 11 ขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พร้อมเอกสารประกอบ
5. ระเบียบการโรงเรียน
6. แผนผังบริเวณโรงเรียน
7. แผนผังอาคารเรียนและห้องต่าง ๆ
8. รายการตรวจสถานที่และสุขาภิบาล
9. ใบอนุญาตให้ใช้แบบแปลน

ประเภทสามัญศึกษา ระดับประถม-มัธยมศึกษา
การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1
1. สถานที่
สถานที่และบริเวณที่ตั้งโรงเรียนต้องมีลักษณะกว้างขวางพอแก่กิจการของโรงเรียน และไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัย
ของนักเรียน ไม่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการอื่น หรือเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของโรงเรียน การคมนาคมสะดวกตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่อาจเกิดภยันตรายใด ๆ หรืออยู่ใกล้สถานที่อื่นที่ไม่เหมาะสมแก่กิจการของโรงเรียน


2. ที่ดิน
2.1 ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้
ก. เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ขององค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
ข. เป็นที่ดินของเอกชน แต่ต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปี และให้
จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2.2 ที่ดินต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200 ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และจะต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน และสนามไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบริเวณโรงเรียนทั้งหมดกรณีที่ต้องการขอเพิ่มเนื้อที่ดิน และที่ดินที่เพิ่มไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดิน ที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ให้เสนอเหตุผลและความจำเป็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณา
ผ่อนผันได้ แต่ที่ดินที่ขอเพิ่ม จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ และอยู่ห่างจากที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนอยู่แล้วไม่เกิน 500 เมตร


3. อาคารเรียน/ห้องเรียน และห้องประกอบ อาคารเรียน ระดับประถมศึกษาและมัธยาศึกษาให้ใช้อาคารเรียน ดังนี้
- ชั้นระดับประถมศึกษา ให้ใช้ไม่เกินชั้นที่สี่
- ชั้นระดับมัธยมศึกษา ให้ใช้เกินชั้นที่สี่ได้เมื่อปรากฏว่าอาคารนั้นมีมาตรฐาน และความปลอดภัยเพียงพอ
ที่จะใช้เป็นอาคารเรียนได้ และในกรณีจะใช้อาคารตั้งแต่ชั้นที่ห้าขึ้นไปเป็นห้องเรียน ต้องจัดให้มีลิฟต์รวมอยู่ในตัวอาคารด้วยห้องเรียน ห้องเรียนแต่ละห้องต้องมีขนาดของห้องไม่ต่ำกว่า 6x8 เมตร และมีห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนชั้นที่เปิดสอน ห้องวิทยาศาสตร์ ต้องมีขนาดห้องไม่ต่ำกว่า 6x8 เมตร

โรงเรียนที่จัดการสอนทุกระดับต้องจัดให้มีห้องประกอบ ดังนี้
ก. ห้องธุรการ
ข. ห้องสมุด

ระดับประถมศึกษา ต้องมีเนื้อที่
- อย่างน้อย 1 ห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 400 คน
- อย่างน้อย 2 ห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 400 คนขึ้นไป

ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 2 ห้องเรียน
ค. ห้องพยาบาลให้แยกชาย-หญิง คนละห้องไม่ปะปนกัน
ง. ห้องครูใหญ่
จ. ห้องพักครู จัดให้เป็นสัดส่วนและมีเพียงพอ


สำหรับโรงเรียนที่จัดการสอนระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดให้มีห้องประกอบเพิ่มเติมดังนี้
ก. ห้องวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ข. ห้องวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ค. ห้องแนะแนว
ง. ห้องปฏิบัติการอื่น

ที่รับประทานอาหาร โรงเรียนต้องจัดให้มีโรงอาหาร มีโต๊ะ ม้านั่ง สำหรับรับประทานอาหารเพียงพอกับจำนวนนักเรียนและมีน้ำดื่มน้ำใช้โดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะ
ห้องส้วมและที่ปัสสาวะ ต้องจัดให้เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ ถ้ามีนักเรียนชาย-หญิง ต้องแยกเป็นห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง
ขั้นตอนที่ 2
ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียน ให้ยื่นเอกสารและดำเนินการดังนี้
1. โครงการจัดตั้งโรงเรียน
2. ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมเอกสารประกอบ ในกรณีที่ยังไม่มีอาคาร คือ
(1) แบบแปลน 3 ชุด ( ถ้าใช้แบบแปลนของส่วนราชการใดต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ใช้แบบแปลนของส่วนราชการนั้นด้วย)
(2) หนังสือรับรองแบบแปลนของสถาปนิก และวิศวกร พร้อมสำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพ จำนวน 1 ชุด
(3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง
(4) รายการคำนวณโครงสร้าง 1 ชุด
3. ในกรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนมีอาคารที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เตรียมเอกสารดังนี้
(1) แบบแปลน 3 ชุด
(2) หนังสือรับรองสภาพความมั่นคงของอาคารซึ่งรับรองโดยวุฒิวิศวกร
(3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง


การยื่นเรื่อง
ให้ยื่นเรื่องที่กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 หรือเขตอื่นซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 3
เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน
ดำเนินการยื่นเอกสาร ดังนี้
1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช. 1) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
2. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
3. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ
4. คำร้อง ร. 11 ขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พร้อมเอกสารประกอบ
5. ระเบียบการโรงเรียน
6. แผนผังบริเวณโรงเรียน
7. แผนผังอาคารเรียนและห้องต่าง ๆ
8. รายการตรวจสถานที่และสุขาภิบาล
9. ใบอนุญาตให้ใช้แบบแปลน

ประเภทอาชีวศึกษา
การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับอาชีวศึกษา
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนเตรียมการ
1. จัดทำข้อมูล/วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนโดยพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ความสำเร็จความพร้อมความถนัดของตนเอง(ผู้ประกอบการ)
1.2 ศึกษาข้อมูลความต้องการด้านวิชาชีพของชุมชน ท้องถิ่น
1.3 สำรวจข้อมูลที่จะเข้าโรงเรียน
1.4 ศึกษา/สำรวจสภาพเศรษฐกิจ/สังคมของชุมชน/ท้องถิ่น
2. ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
3. สรุป/ตัดสินใจลงทุนหรือไม่/อย่างไร โดยพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ทำเลที่ตั้ง
3.2 ความคุ้มค่า(ตัวป้อน/จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ชั้น ม6 และปวช ในเขตปริมณฑล)
3.3 คู่แข่ง
3.4 นโยบายรัฐ

ขั้นตอนเตรียมการ
ภายหลังจากที่ได้ศึกษาถึงข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องแล้ว
ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียนจะต้องดำเนินการดังนี้
1. สรรหาคณะผู้บริหารตลอดจนคณะที่ปรึกษา
2. พิจารณาเลือกใช้หลักสูตรประเภท/สาขาวิชาชีพที่จะเปิดทำการสอน
3. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างของหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ พร้อมจัดทำแผนการเรียนไว้ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน
4. จัดทำโครงการเพื่อประกอบการขอจัดตั้งโรงเรียน
- กรณีขอจัดตั้งโรงเรียน โดยโครงการสนับสนุนเงินกู้ จะต้องจัดทำข้อมูลให้มีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กำหนด
ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสาร " การกู้เงินเพื่อจัดตั้ง/ขยาย/พัฒนาโรงเรียน"
- หากโรงเรียนที่ขอจัดตั้งใหม่ประสงค์จะใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เสนอเพื่อพิจารณา
อีกส่วนหนึ่งด้วย
5. เตรียมความพร้อมเรื่องอาคาร สถานที่
- เขียนแบบแปลนและขออนุมัติแบบ พร้อมขออนุญาตต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการก่อสร้างและตรวจสอบติดตามให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด
6. เตรียมการจัดห้องเรียนห้องประกอบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขอกำหนดของหลักสูตร
7. เตรียมการเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์บัญชีเครื่องมืออุปกรณ์ ตามระเบียบสอดคล้องกับ
การจัดแผนการเรียนและรายวิชาที่เปิดทำการสอน
8. จัดเอกสารประกอบการขอจัดตั้งโรงเรียนและยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด
9. ติดตามตรวจสอบการดำเนินการในทุกด้าน พร้อมแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่อง ( ถ้ามี)
10. ดำเนินการ/จัดเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับการตรวจพิจารณา
11. จัดผู้รับผิดชอบชี้แจงและรอรับคำชี้แนะจากคณะกรรมการที่ไปตรวจ
12. วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักเรียน
13. บรรจุครูทำการสอนให้พอเพียง
14. จัดให้มีการเรียนการสอน ภายหลังได้รับอนุญาต

คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
3. มีทรัพย์สินพอเพียง
4. มีความรู้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรณีขอจัดตั้งโรงเรียน
เฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และจะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคประกาศนียบัตร
วิชาการศึกษาชั้นสูง หรือเทียบเท่า หากขอจัดตั้งโรงเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคและ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
5. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศิลธรรมอันดี
6. ไม่ฝักใฝ่ หรือเลื่อมใสลัทธิที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
7. ไม่เคยถูกออกจากราชการ โดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมานานแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
ก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
8. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้ว
ไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขออนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสารมารถ
10. ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษที่ผู้อนุญาตเห็นว่าไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประชาชนหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือเป็นความผิดลหุโทษ และได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวัน 


ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
กรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนเป็นนิติบุคคลจะต้องมีลักษณะดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
2. มีทรัพย์สินหรือฐานะพอที่จะดำเนินกิจการโรงเรียนได้
3. นิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจะต้องมีทุน หรือจำนวนหุ้น เป็นของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้น ส่วนที่มี สัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทุน หรือจำนวนหุ้นทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
4. นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิจะต้องมีกรรมการมูลนิธิที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด
5. นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
6. ผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ( 1) (2) (5) (6) (7) (9) และ ( 10) 
ของผู้จัดตั้งโรงเรียนที่เป็นบุคคลธรรมดา 

คุณสมบัติของผู้จัดการ
1. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
2. มีความรู้ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
กรณีขอจัดตั้งโรงเรียนที่เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และจะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กรณีขอจัดตั้ง
โรงเรียนที่เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
3. ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

คุณสมบัติของครูใหญ่
1. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
2. ได้รับอนุญาตให้เป็นครูตามมาตรา 39
3. มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และมีประสบการณ์เป็นครูไม่น้อยกว่า 3 ปี หรืออาจมีความรู้ทางสาขาอื่น
ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ต้องมีความรู้ทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง หรือที่กระทรวงศึกษาธิการ
เทียบได ้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือมีความรู้วิชาชีพครูจากสถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิตควบคู่ไม่ด้วย และจะต้องมีประสบการณ์ทางการเป็นครูไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่นเดียวกัน
4. ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ ครูใหญ่จะต้องทำงานประจำอยู่ที่โรงเรียนตลอดเวลาที่มีการสอน เว้นแต่
จะมีเหตุอันสมควรตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 ตำแหน่งนี้อาจเป็นบุคคลเดียวกันได้หากมีคุณสมบัติครบถ้วน

คุณสมบัติครู
คุณสมบัติของครูที่จะทำการสอนในโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาได้ จะต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับคุณสมบัติ
ของครูใหญ่ ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวกับความรู้โดยครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ดังนี้
กรณีเป็นครูสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
1. สอนวิชาสามัญ หรือวิชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอนวิชาชีพ ต้องมีความรู้ในสาขาวิชาที่สอนไม่ต่ำกว่าประโยคครูมัธยมอาชีวศึกษาประกาศนียบัตรประโยคครู
มัธยมธุรกิจ อนุปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือผู้เชี่ยวนาญงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนรับรอง

กรณีเป็นครูสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
1. สอนวิชาสามัญ และวิชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอนวิชาชีพทฤษฎี จะต้องมีความรู้ในสาขาที่สอนไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นปริญญาตรี
สายวิชาชีพโดยตรง เช่น ครูสอนวิชาการบัญชีก็ควรจบปริญญาตรีทางการบัญชี
3. สอนวิชาชีพปฏิบัติต้องมีความรู้ในสาขาที่สอน ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมธุรกิจ อนุปริญญา โดยจะต้องมีประสบการณ์การทำงานหรือการสอนในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ มาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีภายหลังได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องบรรจุครูให้เรียบร้อยภายใน 1 เดือน โดยคำนวณสัดส่วน จำนวนครูต่อนักเรียนโดยเฉลี่ย 1:30 และต้องส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อให้ครูมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ เป็นเงินสงเคราะห์ด้านต่าง ๆ ตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสงเคราะห์ครูใหญ่ และครูโรงเรียนเอกชน ต่อไป


ข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน
ที่ดินสำหรับการขอจัดตั้งโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา จะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน แต่หากเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม จะต้องให้ผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนทำสัญญาเช่าจาก
ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย โดยทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ในระยะเวลาเช่าไม่น้อยกว่า 10 ปีนับตั้งแต่วันยื่น
คำขอ ยกเว้นกรรมสิทธิ์ร่วมกับคู่สมรส ไม่ต้องจดทะเบียนการเช่า แต่ต้องให้คู่สมรสยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
2. หากเป็นที่เช่าทรัพย์สินส่วนประมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ จะต้องมีสัญญาการเช่าตามข้อกำหนด
3. หากเป็นที่วัดต้องมีสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. หากเป็นที่เช่าเอกชน จะต้องมีระยะเวลาเช่าไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันยื่นคำขอและต้องจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กรณีการเช่าที่ดินร่วมกันระหว่างสามีภรรยาและประสงค์จะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียน
คู่สมรสจะต้องให้คำยินยอม และจะต้องยืนยันว่าจะไม่ใช้สิทธิ์ในการเป็นผู้เช่าร่วมระงับยับยั้ง และหรือนำที่ดินแปลงดังกล่าวไป
ทำกิจการอื่น จนกว่าจะหมดสัญญาเช่า


การใช้ที่ดินที่เป็น นส 3 ก. จัดตั้งโรงเรียน
หากผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนใช้ที่ดินที่เป็น นส 3 ก. จัดตั้งโรงเรียน จะต้องได้รับการยืนยันว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่อยู่
ในเขตป่าสงวนและหรือไม่อยู่ในระหว่างการถูกเพิกถอนสิทธิครอบครอง


ขนาดของที่ดิน
1. โรงเรียนที่เปิดสอนประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาศิลปหัตกรรม และประเภทวิชาคหกรรมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีที่ดิน
ประเภทวิชาละไม่ต่ำกว่า 1.5 ไร่
2. โรงเรียนที่ขอเปิดสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จะต้องมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 2 ไร่
3. โรงเรียนที่ขอเปิดสอนประเภทวิชาเกษตรกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพจะต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคและหรือวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีที่ดินรวมกันไม่ต่ำกว่า 200 ไร่หากผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน
ประสงค์จะเปิดทำการสอนหลายประเภทวิชา จะต้องคำณวนจำนวนที่ดินในแต่ละประเภทรวมกัน เช่นหากจะเปิดสอน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ และประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จะต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 3.5 ไร่ เป็นต้น


การจัดทำแบบแปลนเพื่อการก่อสร้างอาคาร
ในการขอจัดตั้งโรงเรียนนั้น ผู้รับใบอนุญาตจะต้องขอใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหรืออาคารประกอบ
โดยควรคำนึงในรายละเอียด ดังนี้
1. พิจารณาความเหมาะสมของบริเวณและขนาดของพื้นที่ที่จะจัดตั้งและขยายกิจการในโอกาสต่อไป
2. ปรึกษาสถาปนิกและวิศวกร ที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ และข้อกำหนดของการก่อสร้าง
อาคารเรียน อาคารประกอบ ของโรงเรียนเอกชน ในการกำหนดพื้นที่แผนผังบริเวณ การวางรูปแบบ การเขียนแบบ และ
ดำเนินการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม สวยงาม และสามารถใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า
3. มอบหมายสถาปนิก วิศวกรเขียนแบบและยื่นคำขอใช้แบบแปลน
- ส่วนกลางยื่นที่กองโรงเรียนอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
- ส่วนภูมิภาคยื่นที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอท้องที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่


เอกสารประกอบการขออนุญาตใช้แบบแปลน
1. หนังสือนำเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารเรียนของผู้ขอรับใบอนุญาต
2. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน(โฉนด/นส. 3 ก) หรือสัญญาเช่าที่ดิน พร้อมเขียนแผนผังแสดงที่ตั้งลักษณะบริเวณโรงเรียนแนวเส้นกั้นรั้วที่ตั้งอาคารให้ชัดเจน
3. แบบแปลน 3 ชุด
- ต้องมีผังบริเวณแสดงเขตที่ดินและสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงด้วย
- ต้องแสดงแผนผังบริเวณ ผังพื้นที่ทุกชั้นรูปด้าน 3 รูป รูปตัด 1 รูป ผังพื้นที่โครงสร้างทุกระดับ รูปขยายบันได รูปขยายเสา คานคอนกรีตเสริมเหล็ก
- แบบแปลนทุกแผ่นจะต้องมีลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมหมายเลข กศ. และ กว.
4. หนังสือรับรองแบบแปลนจากสถาปนิกและวิศวกร
5. สำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพของสถาปนิก และวิศวกร
6. รายการคำนวนทางวิศวกรรมจำนวน 1 ชุด
7. หลักฐานอนุญาตให้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน จากหน่วยงานที่เป็นผู้ออกแบบนั้น ( กรณีที่ใช้แบบแปลนมาตรฐาน เช่น แบบของกรมอาชีวศึกษา เป็นต้น)

สำหรับขนาดของห้องเรียนที่จะกำหนดในแบบแปลนนั้น ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 7x9 เมตร
* อาคารเรียน อาคารประกอบทุกหลังในโรงเรียนจะต้องขออนุญาตใช้แบบแปลนก่อนเสมอ
นอกเหนือจากการขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารแล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้อง
ขออนุญาตก่อสร้างต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง *
การใช้อาคารเก่า
หากมีการขอจัดตั้งโรงเรียนในสถานที่ที่เคยเป็นโรงเรียนมาก่อน และมีอาคารเรียนอยู่แล้วการใช้อาคารเรียนเก่า
เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนใหม่จะต้องให้วุฒิวิศวกรรับรองความมั่นคง แข็งแรงของอาคารโดยจะต้องเสนอแบบแปลงเดิมเพื่อพิจารณาด้วย
* อาคารเก่าในที่นี้ยังหมายรวมถึงอาคาร (ใหม่) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้าง
* เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารและขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการก่อสร้างแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องดำเนินการก่อสร้าง พร้อมติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง เพื่อให้ทันเวลาในการเตรียม ความพร้อม เพื่อจัดห้องเรียนห้องประกอบจัดวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติเฉพาะสาขา และโรงฝึกงานเพื่อรอรับการตรวจ พิจารณา ของคณะกรรมการภายหลังการยื่นขอจัดตั้งโรงเรียนต่อไป


การจัดห้องเรียน
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน จะต้องจัดห้องเรียนในอาคารที่ได้ทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้
พอเพียงสอดคล้องกับจำนวนประเภท/สาขาวิชาที่จะเปิดทำการสอน กรณีไม่สามารถสร้างอาคารให้มีห้องเรียนสำหรับนักเรียน
ครบทุกชั้นปี ตามหลักสูตร จะต้องทำหนังสือยืนยันว่าจะเร่งก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมให้พอเพียงก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษาถัดไป

การจัดห้องประกอบ/อาคารประกอบ
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน จะต้องจัดห้องประกอบ/อาคารประกอบที่จำเป็นดังต่อไปนี้
- ห้องผู้บริหาร
- ห้องธุรการ/การเงิน
- ห้องพักครู
- ห้องพยาบาล
- ห้องพยาบาล(แยกชาย-หญิง)
- ห้องสมุด
- ห้องวิทยาศาสตร์
- ห้องวิชาการ/วัดผลประเมินผล
- ห้องปกครอง/แนะแนว
- ห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขา
- ห้องสุขา
- โรงฝึกงาน
- โรงอาหาร

การจัดห้องประกอบและห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขา ควรให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของประเภท/สาขานั้น ๆ โดยคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอยที่นักเรียนจะได้รับรวมถึงความสะดวกสบาย ปลอดภัย ของผู้ใช้เป็นสำคัญ

การเลือกหลักสูตร/ประเภท/สาขาวิชา
หลักสูตรอาชีวศึกษาที่ใช้อยู่ในขณะนี้มี 2 หลักสูตร คือ
หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546) - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค พุทธศักราช 2533
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2540
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546
หลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2538 สายวิชาช่างอุตสาหกรรม
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2535 สายวิชาช่างอุตสาหกรรม
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2536 สายวิชาบริหารธุรกิจ
- หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2536 สายวิชาบริหารธุรกิจ
หลักสูตรต่างๆ เหล่านี้จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงตลอดเวลา ผู้ขอใช้หลักสูตรต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและทันสมัย
อยู่เสมอทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีหลักสูตรของสำนักงานการศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร เนื่องจากสำนักงานการศึกษาเอกชน กำลังจัดทำและพัฒนาหลักสูตรภายใต้กรอบที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติการพิจารณาเลือกใช้หลักสูตรระหว่างหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาและของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลขึ้นอยู่กับความประสงค์ และมุมมองของผู้บริหาร ทั้งนี้เพราะหลักสูตรทั้งสองหลักสูตรนี้มีความเหมาะสมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแต่อาจมีแนวทางในการพิจารณา เช่น
- ใช้หลักสูตรเดียวกันกับสถานศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อการเทียบโอน เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์
การจัดการเรียนการสอนซึ่งกันและกัน
- ใช้หลักสูตรที่แตกต่างจากสถานศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับนักเรียนนักศึกษา
- ในโรงเรียนเดียวกันควรใช้หลักสูตรเดียวกันทุกระดับเพื่อความต่อเนื่อง และสอดคล้องเนื้อหาเดียวกัน

การจัดทำแผนการเรียน
ผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน ต้องหมอบหมายผู้รับผิดชอบด้านวิชาการจัดทำแผนการเรียน เพื่อเสนอขอรับการพิจารณา
ซึ่งถ้าหากจัดได้ถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตรก็สามารถนำไปเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนได้
การจัดทำแผนการเรียน ควรให้ความสำคัญกับการจัดรายวิชาที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร การเลือกรายวิชา
ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนในระดับต่อไป การจัดลำดับรายวิชาก่อนหลังเป็นต้น

การขอใช้ชื่อเพื่อจัดตั้งโรงเรียน
การใช้ชื่อเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนควรพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
1. ชื่อโรงเรียนต้องเป็นภาษาไทย และมีคำว่า "โรงเรียน" หน้าชื่อ หากมีชื่อภาษาอังกฤษต้องเขียนทั้งชื่อภาษาไทย
และภาษาอังกฤษโดยเขียนชื่อภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อไป
2. ไม่เป็นชื่อซ้ำกับชื่อโรงเรียนลักษณะและหรือประเภทเดียวกัน หรือชื่อโรงเรียนที่เลิกดำเนินกิจการไปแล้ว
จนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นโรงเรียนเดียวกัน
3. ชื่อโรงเรียนควรสอดคล้องกับหลักสูตรหรือประเภทของโรงเรียน
4. การใช้ชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการเขียนชื่อย่อต้องขออนุญาตก่อน
5. กรณีจะขอใช้ชื่อ แต่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หรือไม่ ให้ทำหนังสือ ขอหารือมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ความช่วยเหลือพิเศษจากรัฐ
เป็นที่หน้ายินดี ที่รัฐได้ให้การส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น รัฐ
จึงเปิดโอกาสให้เอกชนกู้เงินมาลงทุนจัดการศึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เน้นสาขาวิชาชีพ
ที่ขาดแคลน ซึ่งโรงเรียนที่ขอจัดตั้งใหม่จะต้องอยู่ภายใต้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. มีที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ( จังหวักนครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี )
2. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนจะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น
3. ต้องมีนักเรียนที่ถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดของโรงเรียน
4. ต้องจัดทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน
นักเรียนทั้งหมด
5. ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
6. ต้องจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้


ข้อมูลสำหรับการจัดทำโครงการ
การจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้ จะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2 ส่วนคือ


ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านการจัดการ
1. ความเป็นมาของโครงการ
2. วัตถุประสงค์
3. ประเภท 1 ระดับการศึกษาหลักสูตร / สาขาวิชา
4. ทำเลที่ตั้ง แผนผังบริเวณสถานศึกษา แผนผังอาคารเรียน อาคารประกอบจำนวนห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน
5. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกสารรับรองหรือการอนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ
6. โครงสร้างองค์กร
7. เจ้าของผู้ดำเนินการ
8. แผนการจัดหาและแผนพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
9. ประวัติของคณะกรรมการการบริหาร
10. แผนการรับนักเรียนนักศึกษา
11. อัตราค่าธรรมเนียมการเรียน
12. แผนการให้ทุนแก่นักเรียนนักศึกษา
13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
14. หลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และรายงานผลการประชุมผู้ถือหุ้น


ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านการเงิน
1. เงินลงทุนในโครงการ
(1) การลงทุนในโครงการ
(2) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดก่อนดำเนินงาน
(3) เงินหมุนเวียนที่ต้องใช้ในโครงการ
(4) เงินทุนสำรอง
(5) กำหนดการในการลงทุน
2. การจัดหาเงินและโครงสร้างเงินลงทุน
(1) เงินลงทุนในส่วนของผู้ดำเนินการ
(2) เงินกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ
(3) เดรดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงินอื่น
3. ความเป็นไปได้ทางการเงิน
(1) งบประมาณการทางการเงิน
(2) งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี ( กรณีเป็นสถานศึกษาอยู่แล้ว )
(3) สำเนา Statement จากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
(4) ข้อมูลหลักประกันในการกู้ยืม
(5) ข้อมูลเงื่อนไขและสิทธิพิเศษที่ได้รับรายละเอียดต่างๆ ในการจัดทำโครงการสนับสนุนเงินกู้
ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารแนะนำ การขอกู้เงินเพื่อจัดตั้ง / ขยาย / พัฒนาโรงเรียน ข้อมูลต่างๆ ที่บรรจุ
ในโครงการนี้จะต้องละเอียด ชัดเจน ครบถ้วน เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการพิจารณานั่นเอง พึงระมัดระวังว่า การยื่นโครงการการสนับสนุนเงินกู้ เป็นคนละส่วนกับการยื่นคำขอเพื่อจัดตั้งโรงเรียน
ผู้จัดตั้งโรงเรียนจะต้อง ยื่นคำขอจัดตั้งภายในเวลาที่กำหนดด้วย

กำหนดการยื่นคำขอจัดตั้งโรงเรียน
การยื่นคำขอจัดตั้งโรงเรียนโดยทั่วไปจะต้องยื่นภายในกำหนดดังนี้
1. ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ของปีที่จะเปิดทำการสอนสำหรับภาคเรียนที่ 1
2. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม สำหรับทำการเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 เอกสารประกอบการขออนุญาตจัดตั้ง
โรงเรียน/ คำอธิบายการจัดทำในการจัดทำเอกสารประกอบการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนจะต้องมีเอกสารของบุคคล 3 ตำแหน่ง รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับยื่นคำขอพร้อมกันคือ เอกสารของผู้รับใบอนุญาต ผู้จักการ และครูใหญ่ ซึ่งในการยื่น
คำร้องทุกครั้งเอกสารประกอบทุกฉบับต้องรับรองสำเนาและแสดงเอกสารฉบับจริง ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย การจัดเอกสาร
ของผู้บริหารในแต่ละตำแหน่งให้จัดเรียงตามลำดับ เพื่อสะดวกแก่การรวบรวม/ ตรวจสอบ / และพิจารณา สำหรับจำนวน เอกสาร
ที่จะต้องยื่น นั้นให้จัด 2 ชุด (ตัวจริง - สำเนา )


ต่อไปนี้คือรายละเอียดเอกสารประกอบของแต่ละตำแหน่ง ก. เอกสารประกอบในตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต 1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช. 1)
2. โครงการจัดตั้งโรงเรียนพร้อมเอกสาร - แผนผังอาคารสถานที่ / ห้องเรียน / ห้องประกอบการ - การแบ่งเวลาเรียน -
ระเบียบการ - บัญชีอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดไว้ - รายชื่อบุคลากรที่โรงเรียนจัดไว้เพื่อทำการสอนในโรงเรียน - แผนการเรียน - รายชื่อหนังสือในห้องสมุด
3. แบบรายงานประวัติย่อของผู้รับใบอนุญาต
4. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน ( สำเนาโฉนด / น.ส. 3 ก. ถ้าเป็นที่เช่าต้องแบบสัญญาเช่าด้วย )
5. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
6. หลักฐานแสดงความรู้
7. หลักฐานที่แสดงว่ามีสัญชาติไทยโดยการเกิด เช่น สุติบัตร หรือหนังสือรับรองของนายทะเบียนท้องถิ่น หรือ ส.ด. 9 หรือ หนังสือเดินทางไทย
8. รูปถ่ายขนาด 5 x 6 เซนติเมตร ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 รูป
9. ภาพถ่ายบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
10. หนังสือยินยอมของสามี หรือภรรยาให้ดำเนินสกิจการโรงเรียน
11. หนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างหรือหนังสือรับรองอาคาร
12. แบบคำขอ ร. 11 เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน
ทั้งนี้ หากผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเป็นนิติบุคคลจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเอกสารด้วย ในการกรอกข้อความใน สช. 1 ต้องกรอกข้อความในช่องที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลในข้อ 1.2 เท่านั้น ข้อ 1.1 ไม่ต้องกรอกและจะต้องเพิ่มเติมเอกสาร คือ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าเป็นนิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลที่จะเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนได้ต้องมีการระบุหรือกำหนดในรายงานการประชุม ผู้ถือหุ้นว่าผู้ใดมีอำนาจลงนามแทนในฐานะเจ้าของโรงเรียนแทนนิติบุคคล นั้นด้วย

การเขียนโครงการจัดตั้งโรงเรียนต้องมีรายละเอียด ดังนี้
1. ชื่อโรงเรียนที่เป็นภาษาไทย
2. ประเภทและระดับของโรงเรียน
3. วัตถุประสงค์
4. แผนผังแสดงสถานที่ บริเวณโรงเรียน อาคารเรียน และอาคารประกอบการในแต่ละหลังแต่ละชั้น
5. จำนวนเงินทุนประเดิม และทรัพย์สินที่จะใช้ในการจัดตั้งโรงเรียน
6. การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ
7. หลักสูตรและแผนการเรียน
8. ระเบียบการของโรงเรียน
9. รายละเอียดการจัดสวัสดิการแก่บุคลากรในโรงเรียน
10. การขอความช่วยเหลือทางวิชาการหรือการเงินจากสถาบันในประเทศ หรือต่างประเทศ
11. วันที่โรงเรียนจะเปิดทำการสอน


การเขียนระเบียบการของโรงเรียนต้องมีรายละเอียดดังนี้
1. การรับนักเรียน
2. หลักฐานการรับสมัคร
3. การจำหน่าย
4. หลักสูตรและวิชาที่สอน
5. ชั้นเรียน
6. เวลาเรียน
7. วันหยุด
8. การวัดผลประเมินผล
9. การออกประกาศนียบัตร
10. การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน
11. การแต่งกาย
อนึ่ง นอกจากการกรอกรายการในคำขอต่างๆ แล้ว เอกสารหลักฐานของผู้ยื่นก็จะต้องจัดเตรียมและนำมาแนบเรื่องให้ครบถ้วนด้วย


ข. เอกสารประกอบในตำแหน่งผู้จัดการ
1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4)
2. หลักฐานที่แสดงว่ามีสัญญาไทยโดยการเกิด
( ทั้งนี้หากไม่มีสูติบัตรก็อาจใช้หลักฐานอื่นแทนได้ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต)
3. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
4. หลักฐานแสดงความรู้ ( ตามที่ระบุไว้ว่าจบการศึกษาระดับใดจากที่ใด)
5. ใบรับรองแพทย์ ( ที่เป็นปัจจุบันอย่างน้อยไม่ควรมีอายุเกิน 1 เดือน)
6. ภาพถ่ายบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
7. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 4x6 เซนติเมตร ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 6 รูป
8. หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการ ผู้รับใบอนุญาต
9. สัญญาจ้างการเป็นผู้จัดการ ( ซึ่งอาจใช้รูปแบบของสัญญาการเป็นครูใหญ่ และครู โดยอนุโลม

ค. เอกสารประกอบในตำแหน่งครูใหญ่
1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7)
2. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ตามมาตรา
3. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
4. หลักฐานแสดงความรู้และประสบการณ์โดยจะต้องเป็นหลักฐานแสดงความรู้ วุฒิทางครู เช่น กศบ. คบ. และแนบสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวครู หรือบัตร ร. 8 ข. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวเคยเป็นครูมาแล้วเป็นเวลากี่ปี
หรือหากเป็นครูโรงเรียนรัฐบาลก็ต้องมีหลักฐานสำเนาประวัติข้าราชการ พร้อมแนบหลักฐานการอนุมัติให้ลาออกจากราชการด้วย
5. ใบรับรองแพทย์ ( ที่เป็นปัจจุบันอย่างน้อยไม่ควรมีอายุเกิน 1 เดือน)
6. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน
7. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4x6 เซนติเมตร ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 6 รูป
8. สัญญาการเป็นครูใหญ่
9. หลักฐานการแต่งตั้งครูใหญ่จากผู้จัดการ โดยความเห็นชอบของผู้รับใบอนุญาต


สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ( English Program)
การขอเปิดสอนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(1) ที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. คำร้องขอเปิดสอนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (ร. 11)
2. คำร้องขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและหรือค่าธรรมเนียมอื่น (ร. 11)
3. โครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
4. สำเนาใบอนุญาตเกี่ยวกับจำนวนห้องเรียนและความจุนักเรียน
5. แผนผังอาคารเรียน ห้องเรียนและห้องประกอบ
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารประกอบต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ โรงเรียนตั้งอยู่
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการและตรวจสอบความพร้อมของอาคารสถานที่ อุปกรณ์ และประเมินผลการตรวจสอบ
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สรุปผลการประเมินการตรวจสอบพร้อมโครงการ โดยจัดทำเอกสารโครงการจำนวน 13 ชุด ส่งไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามถึงเลขาธิการ
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาอนุมัติโครงการ
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ส่งโครงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติแล้วไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาวิเคราะห์ สรุปข้อมูลนำเรื่องส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามอนุญาตและออกเลขที่ ใบอนุญาต
7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งการอนุญาตให้โรงเรียนทราบและเก็บสำเนาใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก 1065/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2544
เรื่องให้ใช้นโยบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา ธิการเป็นภาษาอังกฤษ
2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ โรงเรียนประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา
เหมือนเรื่องจัดตั้งโรงเรียน

โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(2) ที่จัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. คำร้องขอใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อการสอน (ร. 11)
2. คำร้องขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน (ร. 11)
3. คำร้องขอเปลี่ยนแปลงระเบียบการ ( ร. 11)
4. รายชื่อครูผู้สอน พร้อมวุฒิการศึกษา
5. สำเนาใบอนุญาตเกี่ยวกับจำนวนห้อง วิชาที่เปิดสอน
6. แผนผังอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องประกอบ
7. ระเบียบการ หลักสูตร ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. โรงเรียนยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ โรงเรียนตั้งอยู่
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สรุปผลการตรวจสอบส่งไปยัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ลงนามเสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนพิจารณาอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบ
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ และดำเนินการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบอนุญาต

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 50
2. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สช 602/2538 สั่ง ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2538 เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาเอกชน และผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน
3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาและประเภทศิลปศึกษาหลักสูตรของ
โรงเรียน พ.ศ. 2546

โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(2)
ประเภทเฉพาะกาล(นานาชาติ)


ประเภทกวดวิชาวิชา ( ไม่พบข้อมูล )
ประเภทศิลปศึกษา-อาชีวศึกษา ( ไม่พบข้อมูล )
การขอจัดตั้งโรงเรียนประเภทสอนศาสนาอิสลาม


ต้องยื่นคำร้องขอจัดตั้งโรงเรียน , ขอบรรจุผู้จัดการ , ครูใหญ่และครู

( ก) การขอเป็นผู้รับใบอนุญาต ต้องยื่นเอกสารดังนี้
1. แบบ สช. 1 รวม 2 ฉบับ
2. แบบรายงานการตรวจสถานที่ 2 แผ่น
3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารเรียน ถ้าเป็นที่เช่าแนบสัญญาเช่าเพิ่มเติมด้วย
พร้อมสำเนาและฉบับจริง
4. สำเนาทะเบียนบ้านและฉบับจริง
5. ระเบียบการ หลักสูตร และอัตราเวลาเรียน รายการละ 5 ชุด ต้องให้เจ้าของ(ผู้รับใบอนุญาต) ผู้จัดการ และครูใหญ่ ลงนามกำกับทุกชุด
6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 3 รูป
7. แบบ ร. 11 ขอเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการเรียน
8. สูติบัตรหรือเอกสารรับรองการมีสัญชาติไทยโดยการเกิดจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น
หรือ สด. 9 หรือหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ฯลฯ
9. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญไม่ต่ำกว่าชั้น ป. 6 และวุฒิวิชาศาสนา) และฉบับจริง
10. โครงการขอจัดตั้ง จำนวน 10 ชุด
( ข) การขอเป็นผู้จัดการ ต้องยื่นเอกสารดังนี้
1. แบบ สช. 4 รวม 2 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และฉบับจริง
3. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญไม่ต่ำกว่าชั้น ป. 6 และวุฒิวิชาศาสนา) และฉบับจริง
4. แบบใบรับรองแพทย์
5. สัญญาว่าจ้าง 3 ฉบับ
6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 6 รูป
7. สูติบัตรพร้อมสำเนา หรือเอกสารรับรองการมีสัญชาติไทย โดยการเกิดจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น
( ค) การขอเป็นครุใหญ่ ต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
1. แบบ สช. 7 รวม 2 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และฉบับจริง
3. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญและวุฒิวิชาศาสนาไม่ต่ำกว่าชั้นสูงสุดที่โรงเรียนเปิดสอน) และฉบับจริง
4. ประสบการณ์เป็นครุมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี
5. แบบสัญญาจ้าง 3 ฉบับ
6. แบบใบรับรองแพทย์
7. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 8 รูป
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๗

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงการ TARO to school 2013 จัดโดยปลาสวรรค์ตรา TRAO

โครงการ TARO to school 2013 จัดโดยปลาสวรรค์ตรา TRAO และ เว็บไซต์การศึกษาอันดับ 1 eduzones.com จัดกิจกรรมการบรรยาย แนะนำทักษะการเรียนรู้แบบใหม่ เพื่อรับกับโลกยุคอาเซียน
โดยวิทยากรด้านการศึกษาระดับประเทศ สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ฟรี !!!!
ติดต่อที่ www.facebook.com/TAROtoschoolClub

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สสวท. ขอเชิญร่วมประเมิณความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประจำปี 2556



การสอบแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 2

การสอบแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556

การสอบแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 2
สมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษา ได้จัดการสอบแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา ปีที่ 2 ขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

โครงการแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ครั้งที่ 2
แนวคิดและหลักการ 
สมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษา จะจัดการแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 4-6 ขึ้น เพื่อให้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ทบทวน ฝึกฝน และได้ วัดความสามารถในวิชาภาษาอังกฤษอยู่เสมอ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน และกระตุ้นให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมของนักเรียนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Download ใบสมัคร คลิกที่นี่

วัตถุประสงค์
เพื่อจัดการแข่งขันความสามารถทางภาษาอังกฤษ ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศได้เข้าร่วมแข่งขัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
  1. เพื่อให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาที่เข้าแข่งขันได้แสดงความสามารถทางภาษาอังกฤษ
  2. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนประถมศึกษาสนใจ และฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
  3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษามากขึ้น

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมแข่งขัน
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทั่วประเทศ

วิธีการสมัคร
1) กำหนดรับสมัครวันที่ 1 พฤษภาคม – 10 กันยายน 2556
2) ค่าสมัครคนละ 100.- บาท
3) แนบใบสมัคร และบัตรประจำตัวสอบที่ติดรูปถ่าย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน

การชำระเงิน
1. ชำระเงินโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย ประเภทออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าว 25 ชื่อบัญชีสมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษา เลขที่บัญชี 045-2-97258-1
2. ส่ง ใบสมัคร และบัตรประจำตัวสอบที่ติดรูปถ่าย (ส่วนของสมาคม) สำเนาทะเบียนบ้าน(พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) และ หลักฐานการชำระค่าสมัครสอบ (ใบ pay in) มาทางไปรษณีย์ถึง สมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษา เลขที่ 9/99 อาคารแม็ค ลาดพร้าว 38 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900

การลงทะเบียนสอบ 
ให้นักเรียนลงทะเบียนที่หน้าห้องสอบ ณ สถานที่สอบ ( โรงเรียนพญาไท ) โดยแสดงบัตรประจำตัวสอบที่ติดรูปถ่าย และสามารถดูรายชื่อได้ทาง www.apt4kru.org/eng/, www.facebook.com/apt.english หรือบริเวณด้านหน้าของสถานที่สอบ

รายละเอียดการแข่งขัน
1) กำหนดวันแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 9.00 น.-11.00 น.
2) ประกาศผลการแข่งขัน และพิธีมอบรางวัล ในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556
3) สถานที่สอบแข่งขัน ณ โรงเรียนพญาไท 
4) หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนเป็นอันดับ 1, 2 หรือ 3 มีคะแนนเท่ากัน จะต้องสอบเพื่อหาผู้ได้อันดับละ 1 คน อีกครั้ง
5) ผู้ที่มีคะแนนสอบสูงสุด 6 คนแรก ถือเป็นผู้ได้รับรางวัล

รายละเอียดการสอบ 
1. ข้อสอบปรนัย : Grammar, Usage, Reading จำนวน 100 ข้อ
2. Speech (เฉพาะผู้เข้ารอบ 10 คน)

รางวัลการแข่งขัน
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และโล่พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 7,000 บาท และโล่พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท และโล่พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 7 รางวัล ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท และเกียรติบัตร 
รวมเงินรางวัลทั้งสิ้นจำนวน 29,000 บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ
สมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษา

ผู้สนับสนุนโครงการ
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด

หมายเหตุ : รายได้จากค่าสมัครหลังจากหักค่าใช้จ่าย(ค่ากรรมการตรวจข้อสอบ กรรมการคุมสอบ และค่าสถานที่)
จะนำเงินไปเป็นรายได้ของสมาคมครูภาษาอังกฤษประถมศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2512 0661 ต่อ 3815


หมายเหตุ : สมาคมสงวนสิทธ์ในการเผยแพร่ข้อสอบ และเฉลย

Download ใบสมัคร คลิกที่นี่


สนใจดูข้อมูลที่ http://www.apt4kru.org/eng/index.php/th/news-research/news/56--2-

การใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร

การใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร ตารางสรุป ตัวอย่าง cr: tonamorn