วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เจอกันวันเปิดเทอม วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557

วันนี้วันสุดท้าย ปิดคอร์ส Summer 2557








เจอกันวันเปิดเทอม วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557

Krunoynar@engmath

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ



เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

วันนี้เลยหยิบ "ประวัติเรื่องข้าวไทย" มาฝากค่ะ

เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าวซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่แสดงให้เห็นว่า สยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ ...


ข้าวที่มีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มี 3 ชนิด คือ เมล็ดป้อม เมล็ดใหญ่ และเมล็ดเรียง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์มีการปลูกข้าว ดังนี้

1. สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่
2. สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคใต้ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และข้าวจ้าว
3. สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ ในภาคกลางนิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวจ้าว
4. สมัยเชียงแสนและล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 16-23) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคเหนือ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาว ปลูกข้าวจ้าวน้อยกว่าข้าวเหนียว
5. สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) อาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม ข้าวเหนียวเมล็ดยาวบ้าง และเริ่มปลูกข้าวจ้าวมากขึ้
6. สมัยอยุธยา ระยะแรกปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก เริ่มปลูกข้าวจ้าวมากในช่วงปลายสมัยอยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นข้าวเหนียวที่ปลูกสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
7. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลูกข้าวจ้าวเมล็ดยาวอย่างที่ปลูกในปัจจุบัน ส่วนข้าวเมล็ดป้อมพบว่าปลูกกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอบคณที่มา และอ่านเพิ่มได้ที่ : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/rice/04.html

เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

  1. เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  2. เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  3. วันนี้เลยหยิบ "ประวัติเรื่องข้าวไทย" มาฝากค่ะ 



  1. เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันนี้เลยหยิบ "ประวัติเรื่องข้าวไทย" มาฝากค่ะ 
เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าวซึ่ง...เป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่แสดงให้เห็นว่า สยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ 

ข้าวที่มีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มี 3 ชนิด คือ เมล็ดป้อม เมล็ดใหญ่ และเมล็ดเรียง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์มีการปลูกข้าว ดังนี้

1. สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่
2. สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคใต้ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และข้าวจ้าว
3. สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ ในภาคกลางนิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวจ้าว
4. สมัยเชียงแสนและล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 16-23) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคเหนือ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาว ปลูกข้าวจ้าวน้อยกว่าข้าวเหนียว
5. สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) อาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม ข้าวเหนียวเมล็ดยาวบ้าง และเริ่มปลูกข้าวจ้าวมากขึ้น
6. สมัยอยุธยา ระยะแรกปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก เริ่มปลูกข้าวจ้าวมากในช่วงปลายสมัยอยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นข้าวเหนียวที่ปลูกสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
7. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลูกข้าวจ้าวเมล็ดยาวอย่างที่ปลูกในปัจจุบัน ส่วนข้าวเมล็ดป้อมพบว่าปลูกกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอบคณที่มา และอ่านเพิ่มได้ที่ : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/rice/04.html ดูเพิ่มเติม



วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

Do & Don't ตัวช่วยสร้างลูกขยันเรียน




Do & Don't ตัวช่วยสร้างลูกขยันเรียน/Mother&Care

การศึกษาคือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเสริมศักยภาพสมองของลูกวัยเรียนได้ดี ยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริม IQ ให้มีความฉลาดด้านสติปัญญาด้วย ก็จะช่วยให้ลูกเรียนรู้รุดหน้าได้ ส่วนจะพัฒนาอย่างไร มีข้อแนะนำมาฝากค่ะ

Do สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เช่น จัดบ้านให้มีนิทาน มีหนังสือหลากชนิดให้ลูกได้ศึกษาค้นคว้า มีห้องอ่านหนังสือ มีมุมทำการบ้านที่สงบเงียบและเป็นส่วนตัว เพื่อให้ลูกใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ศึกษาเรียนรู้มาได้ดี

Don't แสดงความโกรธ ความไม่พอใจออกมาเมื่อลูกเรียนไม่ดี ได้คะแนนไม่ดี หรือลงโทษด้วยการดุ ตี ทำให้ลูกได้อาย แสดงออกต่อผลการเรียนของลูกในเชิงลบ เหล่านี้จะทำให้ลูกเกิดความเครียด และไม่อยากเรียนหนังสือ

Do ชมเชยลูก หรือให้กำลังใจเมื่อเห็นว่าลูกตั้งใจเรียน ตั้งใจทำการบ้าน หรือเรียนดี อาจให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกเข้าใจว่าการตั้งใจเรียนเป็นสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชม ทำให้ลูกมีกำลังใจในการเรียนหนังสือ และมีความมั่นใจมากขึ้นด้วย

Don't บังคับให้ลูกเรียนพิเศษที่โรงเรียนสอนพิเศษ จนลูกต้องเรียนพิเศษมากเกินไป หรือยัดเยียดความรู้ให้ลูกมากจนลูกเครียด ควรเป็นการให้ความรู้เพิ่มเติมให้ลูกเข้าใจมากกว่า

Do ชวนลูกไปเที่ยวเปิดโลกการเรียนรู้ของสมอง เช่น ไปพิพิธภัณฑ์ หอสมุดแห่งชาติ หรือที่ที่น่าศึกษาหาความรู้ หรืออื่นๆ ที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีความสนุกในการเรียนรู้ ทำให้เรียนหนังสือได้ดี

Don't คาดหวังเรื่องการเรียนของลูกมาก ว่า จะต้องเรียนได้ดีเยี่ยม เพราะลูกจะรู้สึกกดดัน เครียด เป็นกังวล และไม่มีความสุขกับการเรียน ซึ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้สมองยิ่งปิดการเรียนรู้มากขึ้น

Do ทำการเรียนรู้ให้เป็นเรื่องน่าสนุก เช่น เล่นเกม สอนการบ้าน อ่านหนังสือด้วยกัน ฝึกตั้งคำถาม หรือเล่าเรื่องต่างๆ จากที่ทำงานพ่อแม่ให้ลูกฟัง พร้อมแทรกแง่คิด สิ่งที่น่าเรียนรู้ไว้ด้วย ซึ่งจะช่วยพัฒนาสมองลูกได้มาก

Don't ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการศึกษาเรียนรู้ เช่น ไม่อ่านหนังสือให้ลูกเห็น สนใจดูแต่ทีวี เล่นเกม ไม่ชวนลูกไปร้านหนังสือ ห้องสมุด หรืออื่นๆ

Do พาลูกไปร้านหนังสือบ่อยๆ ให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจ หรือพาลูกไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุด ชักชวนให้เป็นสมาชิกของห้องสมุด ลูกจะได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น

Don't อย่าใช้อารมณ์เมื่อลูกไม่ตั้งใจเรียน แต่ควรพูดเตือนลูกดีๆ โดยใช้เหตุผล ชี้ให้เห็นคุณค่าของการศึกษาเล่าเรียน ให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนหนังสือ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 สิงหาคม 2555 17:26 น.
ขอบคุณภาพจาก www.tutordoctor.com

เรียนสังคมศึกษาประถม 2 : โรงเรียนของเรา



เรียนสังคมศึกษาประถม 2 : โรงเรียนของเรา

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

แบบมีรูปที่นักเรียนต้องการ Summer Course (ประกาศนียบัตร)

แบบมีรูปที่นักเรียนต้องการ Summer Course (ประกาศนียบัตร)

ปัดฝุ่นตำรา แบบเรียนเร็ว แก้เด็กอ่านไม่ออก

ปัดฝุ่นตำรา แบบเรียนเร็ว แก้เด็กอ่านไม่ออก


สพฐ.ปัดฝุ่นตำราโบราณยุค 2499 แบบเรียนเร็วใหม่ สำหรับนร.ชั้นป.1-3 “อภิชาติ” เผยเคยได้เรียนมาก่อน ตั้งใจนำมาใช้แก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของ นร. ทุ่มงบ 10 ล้านบาทจัดพิมพ์ 6 แสนเล่ม แจก ร.ร.พร้อมใช้ทันทีเทอม 1 ปี 57 ระบุเตรียมรวบรวมผลงาน อ.รัชนี ยกย่องเป็นผลงานชั้นเยี่ยม ยันแบบเรียน “มานี-มานะ” ไม่ได้หายไปไหนแต่จัดไว้ในหมวดหนังสืออ่านนอกเวลา

วานนี้ (17 เม.ย.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังเตรียมนำแบบเรียนเร็วใหม่ ระดับตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ของอำมาตย์โทพระวิภาชน์ วิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) มาใช้เป็นแบบเรียนสำหรับเด็กช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ซึ่งเป็นแบบเรียนฝึกสะกดคำ และได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนมาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.พ. 2499 โดยแบบเรียนดังกล่าวเป็นแบบเรียนที่อ่านง่าย เน้นการสะกดคำแจกลูกประโยคไว้ชัดเจน เช่น ก า, กา กา มา, ม า มา กามา ...และตามด้วยรูปงู กาตีงู ปูขาเก ตาโม จูงโค โคขาเกไถนา ตาคำ แกทำนา กะเมียแก แกมีวัว 5 ตัว เมียแก ไปพาวัว มาไถนา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กอ่าน ออก เขียนได้ และจดจำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแบบเรียนนี้ตนมีความสนใจและเคยเรียนมาก่อน ช่วยให้เด็กจดจำคำศัพท์ อ่านออก และเขียนได้ถูกต้อง แต่เมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบันโรงเรียนจะไม่เน้นการสอนแบบแจกคำแล้ว เมื่อเด็กเจอศัพท์ใหม่จึงไม่สามารถอ่านประโยคนั้นได้ ดังนั้น จึงเห็นว่าแบบเรียนนี้มีประโยชน์และควรนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็ก

“จุดประสงค์ของการรื้อฟื้นแบบเรียนเร็วใหม่ขึ้นมานั้น เพื่อต้องการแก้ปัญหาเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้โดยเฉพาะ ซึ่งที่ผ่านมาผมได้หารือกับครูภาษาไทยพบว่า แบบเรียนเร็วใหม่มีความน่าสนใจ ซึ่งมีบางโรงเรียนนำร่องใช้แบบเรียนนี้มาแล้วจนทำให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนภาษาไทยดีขึ้น ดังนั้นเชื่อว่าภายใน 1-2 ปีจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแน่นอนซึ่ง สพฐ.จะให้โรงเรียนแจ้งความประสงค์มา และ สพฐ.จะจัดลงไปให้เพื่อใช้เสริมการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของเด็ก”นายอภิชาติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้เริ่มพิมพ์แบบเรียนเร็วใหม่แล้วจำนวน 600,000 เล่ม ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท โดยจะให้เริ่มใช้เรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ทันที

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐาน ของ สพฐ.ไปรวบรวมผลงานวิชาการของอาจารย์รัชนีว่ามีผลงานโดดเด่นๆอะไรบ้าง เพื่อยกย่องให้เป็นผลงานชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ ในสมัยอดีตอาจารย์รัชนีถือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใน สพฐ.ได้ผลิตผลงานระดับคุณภาพออกมาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะหนังสือเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6 ชุดมานี มานะ ปิติ ชูใจ) ของอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ ซึ่งเป็นหนังสือเรียนภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศระหว่าง พ.ศ.2521-2537 ส่วนจะรื้อฟื้นแบบเรียนภาษาไทยของอาจารย์รัชนีขึ้นมาใหม่อีกครั้งหรือไม่นั้น ต้องบอกว่าหนังสือเรียนภาษาไทยมานี มานะ ปิตี ชูใจ เป็นแบบเรียนแห่งความทรงจำ และ สพฐ.ไม่ได้มีการยกเลิก แต่จะไปอยู่ในหมวดหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็กประถมศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งมีผู้พิมพ์แบบเรียนออกจำหน่ายน้อยมาก เนื่องจากครูและเด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักหนังสือเรียนดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร ขณะเดียวกันครูก็ไม่ได้มีการส่งเสริมให้ใช้เท่าที่ควร ซึ่งความประทับใจขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนมากกว่า เพราะครูบางคนเห็นคุณค่าแต่ก็มีครูอีกหลายคนก็กลับไม่เห็นคุณค่า และแบบเรียนดังกล่าวก็ใช้อยู่ไม่กีปีเท่านั้น

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 17 เมษายน 2557 21:52 น.

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

Sook Sun Wan Songkran 2557

Sook Sun Wan Songkran 2557

บ้านสอนพิเศษ อิงแมท แอด โฮม เซ็นเตอร์
หยุดเรียน  12-15  เมษายน 2557
เปิดเรียน     16  เมษายน 2557
Krunoynar@engmath









วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

Learning : I miss you, Very good, I like it, and I have to go.


Learning : I miss you, Very good, I like it, and I have to go. 




Improve your English on


 บ้านสอนพิเศษอิงแมทแอดโฮม เซ็นเตอร์

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

April Fools' Day (sometimes called All Fools' Day)

Happy Fools' Day => วันเมษาหน้าโง่ 

April Fools' Day (sometimes called All Fools' Day) is an informal holiday celebrated every year on April 1. It is not a national holiday, but is widely recognized and celebrated in various countries as a day when people play practical jokes and hoaxes on each other, called April fools.[1] Hoax stories are also often found in the press and media on this day.




วันเมษาหน้าโง่ หรือ วันเอพริลฟูล (อังกฤษ: April Fool's Day) เฉลิมฉลองในหลายประเทศในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี ซึ่งวันที่ 1 เมษายนนี้มิใช่วันหยุดราชการ แต่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และเฉลิมฉลองเป็นวันที่หลายคนจะเล่นมุขตลกและความเขลาทุกแบบ วันนี้เป็นวันแห่งการสำราญ หรือมิฉะนั้นก็มุขตลก การหลอกลวง และการแกล้งอื่นๆ ที่มีระดับการตบตาต่างๆ กัน กับเพื่อน สมาชิกครอบครัว ครูอาจารย์ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
เดิม เด็กฝรั่งเศสและอิตาลี (ซึ่งอาจรวมผู้ใหญ่ด้วย เมื่อเหมาะสม) ติดปลากระดาษบนหลังของอีกฝ่ายเมื่อเป็นการตบตา และตะโกน "april fish!" (ปลาเมษา) ในภาษาท้องถิ่นของตน
การเชื่อมโยงระหว่างวันที่ 1 เมษายนกับความเขลาเก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกสามารถพบได้ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (ค.ศ. 1392) นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า การฟื้นฟูวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีผลต่อการสร้างสรรค์วันดังกล่าว แต่ทฤษฎีนี้มิได้อธิบายการอ้างถึงก่อนหน้านั้น




การใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร

การใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร ตารางสรุป ตัวอย่าง cr: tonamorn