ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน
ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชน
ผู้ประสงค์จะจัดตั้งโรงเรียน ให้ปฏิบัติและดำเนินการตามเงื่อนไขต่อไปนี้ 1. เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนพร้อมหลักสูตร ให้จังหวัด(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1)พิจารณา ทั้งนี้ รูปแบบและ หัวข้อเรื่องในโครงการให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดท 2. ผู้เสนอโครงการต้องขอรับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับโดยสากลตามเงื่อนไข ระยะเวลาที่องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานกำหนดนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน 3. โครงการจัดตั้งโรงเรียนผ่านความเห็นชอบของจังหวัดแล้ว ภายใน 1 ปี ถ้าไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และแจ้งให้จังหวัดทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ถือว่าโครงการนั้นสิ้นสุด 4. นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ฉบับนี้แล้ว ในการจัดตั้งโรงเรียน ผู้เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน กฎกระทรวง และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนเอกชน มาตรา 15(1) • ประเภทสามัญศึกษา ระดับอนุบาล ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 1. สถานที่ สถานที่และบริเวณที่ตั้งโรงเรียนต้องมีลักษณะกว้างขวางพอแก่กิจการของโรงเรียน และไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัยของนักเรียน มีรั้วแสดง ขอบเขต และจะต้องอยู่ห่างจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 300 เมตร เส้นทางคมนาคม ฯลฯ 2. ที่ดิน 2.1 ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นกรรมสิทธิ์ของ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ ก. เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ขององค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ข. เป็นที่ดินของเอกชน แต่ต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่า สามปี 2.2 ที่ดินต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 90 ตารางวา 3. อาคารเรียน/ห้องเรียน และห้องประกอบ อาคารเรียน การใช้อาคารเรียนระดับก่อนประถมศึกษาให้ใช้ได้ไม่เกินชั้นที่สอง และจะต้องมีห้องสุขาใน ชั้นที่สองด้วยห้องเรียน ห้องเรียนแต่ละห้องต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 35 ตารางเมตร และจะต้องเป็นห้องโล่ง ไม่มีเสา หรือสิ่งกีดขวางมีแสงสว่างเพียงพอ มีทางเข้าออกสองทาง แต่ละทางต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตรถ้ามีทางเข้าออกทางเดียวต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.60 เมตร ที่รับประทานอาหาร โรงเรียนต้องจัดให้มีโรงอาหาร มีโต๊ะ ม้านั่ง สำหรับรับประทานอาหาร เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และมีน้ำดื่มน้ำใช้โดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะห้องส้วมและที่ปัสสาวะ ต้องจัดให้ เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ ถ้ามีนักเรียนชาย-หญิง ต้องแยกเป็น ห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง ขั้นตอนที่ 2 ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียน ให้ยื่นเอกสารและดำเนินการดังนี้ 1. โครงการจัดตั้งโรงเรียน 2. ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้แบบแปลน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมเอกสารประกอบ ในกรณีที่ยังไม่มีอาคาร คือ (1) แบบแปลน 3 ชุด ( ถ้าใช้แบบแปลนของส่วนราชการใดต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ใช้แบบแปลนของส่วนราชการนั้นด้วย) (2) หนังสือรับรองแบบแปลนของสถาปนิก และวิศวกรพร้อม สำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพจำนวน 1 ชุด (3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน ที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียนซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง (4) รายการคำนวณโครงสร้าง 1 ชุด 3. ในกรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนมีอาคารที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมเอกสารดังนี้ (1) แบบแปลน 3 ชุด (2) หนังสือรับรองสภาพความมั่นคงของอาคารซึ่งรับรองโดยวุฒิวิศวกร (3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง การยื่นเรื่อง ให้ยื่นเรื่องที่กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 หรือเขตอื่นซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 3 เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้องแล้ว ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ดำเนินการยื่นเอกสาร ดังนี้ 1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน (สช. 1) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 2. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 3. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 4. คำร้อง ร. 11 ขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พร้อมเอกสารประกอบ 5. ระเบียบการโรงเรียน 6. แผนผังบริเวณโรงเรียน 7. แผนผังอาคารเรียนและห้องต่าง ๆ 8. รายการตรวจสถานที่และสุขาภิบาล 9. ใบอนุญาตให้ใช้แบบแปลน ประเภทสามัญศึกษา ระดับประถม-มัธยมศึกษา การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 1. สถานที่ สถานที่และบริเวณที่ตั้งโรงเรียนต้องมีลักษณะกว้างขวางพอแก่กิจการของโรงเรียน และไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัย ของนักเรียน ไม่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการอื่น หรือเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของโรงเรียน การคมนาคมสะดวกตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่อาจเกิดภยันตรายใด ๆ หรืออยู่ใกล้สถานที่อื่นที่ไม่เหมาะสมแก่กิจการของโรงเรียน 2. ที่ดิน 2.1 ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ ก. เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ ที่ศาสนสมบัติกลาง ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ขององค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ข. เป็นที่ดินของเอกชน แต่ต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปี และให้ จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 2.2 ที่ดินต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200 ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และจะต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน และสนามไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบริเวณโรงเรียนทั้งหมดกรณีที่ต้องการขอเพิ่มเนื้อที่ดิน และที่ดินที่เพิ่มไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดิน ที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ให้เสนอเหตุผลและความจำเป็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณา ผ่อนผันได้ แต่ที่ดินที่ขอเพิ่ม จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ และอยู่ห่างจากที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนอยู่แล้วไม่เกิน 500 เมตร 3. อาคารเรียน/ห้องเรียน และห้องประกอบ อาคารเรียน ระดับประถมศึกษาและมัธยาศึกษาให้ใช้อาคารเรียน ดังนี้ - ชั้นระดับประถมศึกษา ให้ใช้ไม่เกินชั้นที่สี่ - ชั้นระดับมัธยมศึกษา ให้ใช้เกินชั้นที่สี่ได้เมื่อปรากฏว่าอาคารนั้นมีมาตรฐาน และความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้เป็นอาคารเรียนได้ และในกรณีจะใช้อาคารตั้งแต่ชั้นที่ห้าขึ้นไปเป็นห้องเรียน ต้องจัดให้มีลิฟต์รวมอยู่ในตัวอาคารด้วยห้องเรียน ห้องเรียนแต่ละห้องต้องมีขนาดของห้องไม่ต่ำกว่า 6x8 เมตร และมีห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนชั้นที่เปิดสอน ห้องวิทยาศาสตร์ ต้องมีขนาดห้องไม่ต่ำกว่า 6x8 เมตร โรงเรียนที่จัดการสอนทุกระดับต้องจัดให้มีห้องประกอบ ดังนี้ ก. ห้องธุรการ ข. ห้องสมุด ระดับประถมศึกษา ต้องมีเนื้อที่ - อย่างน้อย 1 ห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 400 คน - อย่างน้อย 2 ห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 400 คนขึ้นไป ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 2 ห้องเรียน ค. ห้องพยาบาลให้แยกชาย-หญิง คนละห้องไม่ปะปนกัน ง. ห้องครูใหญ่ จ. ห้องพักครู จัดให้เป็นสัดส่วนและมีเพียงพอ สำหรับโรงเรียนที่จัดการสอนระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดให้มีห้องประกอบเพิ่มเติมดังนี้ ก. ห้องวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ข. ห้องวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค. ห้องแนะแนว ง. ห้องปฏิบัติการอื่น ที่รับประทานอาหาร โรงเรียนต้องจัดให้มีโรงอาหาร มีโต๊ะ ม้านั่ง สำหรับรับประทานอาหารเพียงพอกับจำนวนนักเรียนและมีน้ำดื่มน้ำใช้โดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะ ห้องส้วมและที่ปัสสาวะ ต้องจัดให้เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนนักเรียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ ถ้ามีนักเรียนชาย-หญิง ต้องแยกเป็นห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง ขั้นตอนที่ 2 ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียน ให้ยื่นเอกสารและดำเนินการดังนี้ 1. โครงการจัดตั้งโรงเรียน 2. ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน พร้อมเอกสารประกอบ ในกรณีที่ยังไม่มีอาคาร คือ (1) แบบแปลน 3 ชุด ( ถ้าใช้แบบแปลนของส่วนราชการใดต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ใช้แบบแปลนของส่วนราชการนั้นด้วย) (2) หนังสือรับรองแบบแปลนของสถาปนิก และวิศวกร พร้อมสำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพ จำนวน 1 ชุด (3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง (4) รายการคำนวณโครงสร้าง 1 ชุด 3. ในกรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนมีอาคารที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เตรียมเอกสารดังนี้ (1) แบบแปลน 3 ชุด (2) หนังสือรับรองสภาพความมั่นคงของอาคารซึ่งรับรองโดยวุฒิวิศวกร (3) เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียน ซึ่งได้รับรองสำเนาถูกต้อง การยื่นเรื่อง ให้ยื่นเรื่องที่กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 หรือเขตอื่นซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 3 เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ดำเนินการยื่นเอกสาร ดังนี้ 1. คำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช. 1) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 2. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 3. คำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7) พร้อมเอกสารระบุท้ายคำขอ 4. คำร้อง ร. 11 ขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ พร้อมเอกสารประกอบ 5. ระเบียบการโรงเรียน 6. แผนผังบริเวณโรงเรียน 7. แผนผังอาคารเรียนและห้องต่าง ๆ 8. รายการตรวจสถานที่และสุขาภิบาล 9. ใบอนุญาตให้ใช้แบบแปลน ประเภทอาชีวศึกษา
การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนระดับอาชีวศึกษา
ผู้ประสงค์จะขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนเตรียมการ 1. จัดทำข้อมูล/วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนโดยพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 ความสำเร็จความพร้อมความถนัดของตนเอง(ผู้ประกอบการ) 1.2 ศึกษาข้อมูลความต้องการด้านวิชาชีพของชุมชน ท้องถิ่น 1.3 สำรวจข้อมูลที่จะเข้าโรงเรียน 1.4 ศึกษา/สำรวจสภาพเศรษฐกิจ/สังคมของชุมชน/ท้องถิ่น 2. ขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 3. สรุป/ตัดสินใจลงทุนหรือไม่/อย่างไร โดยพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 ทำเลที่ตั้ง 3.2 ความคุ้มค่า(ตัวป้อน/จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 ชั้น ม6 และปวช ในเขตปริมณฑล) 3.3 คู่แข่ง 3.4 นโยบายรัฐ ขั้นตอนเตรียมการ ภายหลังจากที่ได้ศึกษาถึงข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประสงค์จะขอจัดตั้งโรงเรียนจะต้องดำเนินการดังนี้ 1. สรรหาคณะผู้บริหารตลอดจนคณะที่ปรึกษา 2. พิจารณาเลือกใช้หลักสูตรประเภท/สาขาวิชาชีพที่จะเปิดทำการสอน 3. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างของหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ พร้อมจัดทำแผนการเรียนไว้ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน 4. จัดทำโครงการเพื่อประกอบการขอจัดตั้งโรงเรียน - กรณีขอจัดตั้งโรงเรียน โดยโครงการสนับสนุนเงินกู้ จะต้องจัดทำข้อมูลให้มีรายละเอียดครบถ้วนตามที่กำหนด ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสาร " การกู้เงินเพื่อจัดตั้ง/ขยาย/พัฒนาโรงเรียน" - หากโรงเรียนที่ขอจัดตั้งใหม่ประสงค์จะใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เสนอเพื่อพิจารณา อีกส่วนหนึ่งด้วย 5. เตรียมความพร้อมเรื่องอาคาร สถานที่ - เขียนแบบแปลนและขออนุมัติแบบ พร้อมขออนุญาตต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง - ดำเนินการก่อสร้างและตรวจสอบติดตามให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด 6. เตรียมการจัดห้องเรียนห้องประกอบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขอกำหนดของหลักสูตร 7. เตรียมการเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์บัญชีเครื่องมืออุปกรณ์ ตามระเบียบสอดคล้องกับ การจัดแผนการเรียนและรายวิชาที่เปิดทำการสอน 8. จัดเอกสารประกอบการขอจัดตั้งโรงเรียนและยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนด 9. ติดตามตรวจสอบการดำเนินการในทุกด้าน พร้อมแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่อง ( ถ้ามี) 10. ดำเนินการ/จัดเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับการตรวจพิจารณา 11. จัดผู้รับผิดชอบชี้แจงและรอรับคำชี้แนะจากคณะกรรมการที่ไปตรวจ 12. วางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักเรียน 13. บรรจุครูทำการสอนให้พอเพียง 14. จัดให้มีการเรียนการสอน ภายหลังได้รับอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาต 1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 3. มีทรัพย์สินพอเพียง 4. มีความรู้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรณีขอจัดตั้งโรงเรียน เฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และจะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคประกาศนียบัตร วิชาการศึกษาชั้นสูง หรือเทียบเท่า หากขอจัดตั้งโรงเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคและ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 5. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศิลธรรมอันดี 6. ไม่ฝักใฝ่ หรือเลื่อมใสลัทธิที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ 7. ไม่เคยถูกออกจากราชการ โดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมานานแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน 8. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขออนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน 9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสารมารถ 10. ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษที่ผู้อนุญาตเห็นว่าไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประชาชนหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือเป็นความผิดลหุโทษ และได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวัน ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน กรณีผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนเป็นนิติบุคคลจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1. มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 2. มีทรัพย์สินหรือฐานะพอที่จะดำเนินกิจการโรงเรียนได้ 3. นิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจะต้องมีทุน หรือจำนวนหุ้น เป็นของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้น ส่วนที่มี สัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทุน หรือจำนวนหุ้นทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด 4. นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิจะต้องมีกรรมการมูลนิธิที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารทั้งหมด 5. นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด 6. ผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ( 1) (2) (5) (6) (7) (9) และ ( 10) ของผู้จัดตั้งโรงเรียนที่เป็นบุคคลธรรมดา คุณสมบัติของผู้จัดการ 1. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน 2. มีความรู้ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า กรณีขอจัดตั้งโรงเรียนที่เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และจะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กรณีขอจัดตั้ง โรงเรียนที่เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 3. ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คุณสมบัติของครูใหญ่ 1. มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน 2. ได้รับอนุญาตให้เป็นครูตามมาตรา 39 3. มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา และมีประสบการณ์เป็นครูไม่น้อยกว่า 3 ปี หรืออาจมีความรู้ทางสาขาอื่น ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ต้องมีความรู้ทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง หรือที่กระทรวงศึกษาธิการ เทียบได ้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือมีความรู้วิชาชีพครูจากสถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิตควบคู่ไม่ด้วย และจะต้องมีประสบการณ์ทางการเป็นครูไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่นเดียวกัน 4. ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ ครูใหญ่จะต้องทำงานประจำอยู่ที่โรงเรียนตลอดเวลาที่มีการสอน เว้นแต่ จะมีเหตุอันสมควรตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 ตำแหน่งนี้อาจเป็นบุคคลเดียวกันได้หากมีคุณสมบัติครบถ้วน คุณสมบัติครู คุณสมบัติของครูที่จะทำการสอนในโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาได้ จะต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับคุณสมบัติ ของครูใหญ่ ยกเว้นส่วนที่เกี่ยวกับความรู้โดยครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ดังนี้ กรณีเป็นครูสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1. สอนวิชาสามัญ หรือวิชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี 2. สอนวิชาชีพ ต้องมีความรู้ในสาขาวิชาที่สอนไม่ต่ำกว่าประโยคครูมัธยมอาชีวศึกษาประกาศนียบัตรประโยคครู มัธยมธุรกิจ อนุปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค หรือผู้เชี่ยวนาญงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนรับรอง กรณีเป็นครูสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1. สอนวิชาสามัญ และวิชาสัมพันธ์จะต้องมีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี 2. สอนวิชาชีพทฤษฎี จะต้องมีความรู้ในสาขาที่สอนไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นปริญญาตรี สายวิชาชีพโดยตรง เช่น ครูสอนวิชาการบัญชีก็ควรจบปริญญาตรีทางการบัญชี 3. สอนวิชาชีพปฏิบัติต้องมีความรู้ในสาขาที่สอน ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมธุรกิจ อนุปริญญา โดยจะต้องมีประสบการณ์การทำงานหรือการสอนในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ มาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีภายหลังได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องบรรจุครูให้เรียบร้อยภายใน 1 เดือน โดยคำนวณสัดส่วน จำนวนครูต่อนักเรียนโดยเฉลี่ย 1:30 และต้องส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อให้ครูมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ เป็นเงินสงเคราะห์ด้านต่าง ๆ ตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสงเคราะห์ครูใหญ่ และครูโรงเรียนเอกชน ต่อไป ข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน ที่ดินสำหรับการขอจัดตั้งโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษา จะต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน แต่หากเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม จะต้องให้ผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนทำสัญญาเช่าจาก ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย โดยทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ในระยะเวลาเช่าไม่น้อยกว่า 10 ปีนับตั้งแต่วันยื่น คำขอ ยกเว้นกรรมสิทธิ์ร่วมกับคู่สมรส ไม่ต้องจดทะเบียนการเช่า แต่ต้องให้คู่สมรสยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร 2. หากเป็นที่เช่าทรัพย์สินส่วนประมหากษัตริย์ ที่ราชพัสดุ จะต้องมีสัญญาการเช่าตามข้อกำหนด 3. หากเป็นที่วัดต้องมีสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 3 ปี 4. หากเป็นที่เช่าเอกชน จะต้องมีระยะเวลาเช่าไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันยื่นคำขอและต้องจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กรณีการเช่าที่ดินร่วมกันระหว่างสามีภรรยาและประสงค์จะใช้ที่ดินแปลงดังกล่าวจัดตั้งโรงเรียน คู่สมรสจะต้องให้คำยินยอม และจะต้องยืนยันว่าจะไม่ใช้สิทธิ์ในการเป็นผู้เช่าร่วมระงับยับยั้ง และหรือนำที่ดินแปลงดังกล่าวไป ทำกิจการอื่น จนกว่าจะหมดสัญญาเช่า การใช้ที่ดินที่เป็น นส 3 ก. จัดตั้งโรงเรียน หากผู้ขอจัดตั้งโรงเรียนใช้ที่ดินที่เป็น นส 3 ก. จัดตั้งโรงเรียน จะต้องได้รับการยืนยันว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่อยู่ ในเขตป่าสงวนและหรือไม่อยู่ในระหว่างการถูกเพิกถอนสิทธิครอบครอง ขนาดของที่ดิน 1. โรงเรียนที่เปิดสอนประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาศิลปหัตกรรม และประเภทวิชาคหกรรมทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีที่ดิน ประเภทวิชาละไม่ต่ำกว่า 1.5 ไร่ 2. โรงเรียนที่ขอเปิดสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จะต้องมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 2 ไร่ 3. โรงเรียนที่ขอเปิดสอนประเภทวิชาเกษตรกรรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพจะต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ไร่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคและหรือวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีที่ดินรวมกันไม่ต่ำกว่า 200 ไร่หากผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน ประสงค์จะเปิดทำการสอนหลายประเภทวิชา จะต้องคำณวนจำนวนที่ดินในแต่ละประเภทรวมกัน เช่นหากจะเปิดสอน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ และประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จะต้องมีที่ดินไม่น้อยกว่า 3.5 ไร่ เป็นต้น การจัดทำแบบแปลนเพื่อการก่อสร้างอาคาร ในการขอจัดตั้งโรงเรียนนั้น ผู้รับใบอนุญาตจะต้องขอใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหรืออาคารประกอบ โดยควรคำนึงในรายละเอียด ดังนี้ 1. พิจารณาความเหมาะสมของบริเวณและขนาดของพื้นที่ที่จะจัดตั้งและขยายกิจการในโอกาสต่อไป 2. ปรึกษาสถาปนิกและวิศวกร ที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ และข้อกำหนดของการก่อสร้าง อาคารเรียน อาคารประกอบ ของโรงเรียนเอกชน ในการกำหนดพื้นที่แผนผังบริเวณ การวางรูปแบบ การเขียนแบบ และ ดำเนินการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม สวยงาม และสามารถใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า 3. มอบหมายสถาปนิก วิศวกรเขียนแบบและยื่นคำขอใช้แบบแปลน - ส่วนกลางยื่นที่กองโรงเรียนอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน - ส่วนภูมิภาคยื่นที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอท้องที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ เอกสารประกอบการขออนุญาตใช้แบบแปลน 1. หนังสือนำเพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารเรียนของผู้ขอรับใบอนุญาต 2. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน(โฉนด/นส. 3 ก) หรือสัญญาเช่าที่ดิน พร้อมเขียนแผนผังแสดงที่ตั้งลักษณะบริเวณโรงเรียนแนวเส้นกั้นรั้วที่ตั้งอาคารให้ชัดเจน 3. แบบแปลน 3 ชุด - ต้องมีผังบริเวณแสดงเขตที่ดินและสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงด้วย - ต้องแสดงแผนผังบริเวณ ผังพื้นที่ทุกชั้นรูปด้าน 3 รูป รูปตัด 1 รูป ผังพื้นที่โครงสร้างทุกระดับ รูปขยายบันได รูปขยายเสา คานคอนกรีตเสริมเหล็ก - แบบแปลนทุกแผ่นจะต้องมีลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมหมายเลข กศ. และ กว. 4. หนังสือรับรองแบบแปลนจากสถาปนิกและวิศวกร 5. สำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพของสถาปนิก และวิศวกร 6. รายการคำนวนทางวิศวกรรมจำนวน 1 ชุด 7. หลักฐานอนุญาตให้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน จากหน่วยงานที่เป็นผู้ออกแบบนั้น ( กรณีที่ใช้แบบแปลนมาตรฐาน เช่น แบบของกรมอาชีวศึกษา เป็นต้น)
สำหรับขนาดของห้องเรียนที่จะกำหนดในแบบแปลนนั้น ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 7x9 เมตร
การใช้อาคารเก่า * อาคารเรียน อาคารประกอบทุกหลังในโรงเรียนจะต้องขออนุญาตใช้แบบแปลนก่อนเสมอ นอกเหนือจากการขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารแล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้อง ขออนุญาตก่อสร้างต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง * หากมีการขอจัดตั้งโรงเรียนในสถานที่ที่เคยเป็นโรงเรียนมาก่อน และมีอาคารเรียนอยู่แล้วการใช้อาคารเรียนเก่า เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนใหม่จะต้องให้วุฒิวิศวกรรับรองความมั่นคง แข็งแรงของอาคารโดยจะต้องเสนอแบบแปลงเดิมเพื่อพิจารณาด้วย * อาคารเก่าในที่นี้ยังหมายรวมถึงอาคาร (ใหม่) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้าง * เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้แบบแปลนเพื่อก่อสร้างอาคารและขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการก่อสร้างแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องดำเนินการก่อสร้าง พร้อมติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง เพื่อให้ทันเวลาในการเตรียม ความพร้อม เพื่อจัดห้องเรียนห้องประกอบจัดวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติเฉพาะสาขา และโรงฝึกงานเพื่อรอรับการตรวจ พิจารณา ของคณะกรรมการภายหลังการยื่นขอจัดตั้งโรงเรียนต่อไป การจัดห้องเรียน ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน จะต้องจัดห้องเรียนในอาคารที่ได้ทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ พอเพียงสอดคล้องกับจำนวนประเภท/สาขาวิชาที่จะเปิดทำการสอน กรณีไม่สามารถสร้างอาคารให้มีห้องเรียนสำหรับนักเรียน ครบทุกชั้นปี ตามหลักสูตร จะต้องทำหนังสือยืนยันว่าจะเร่งก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมให้พอเพียงก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษาถัดไป การจัดห้องประกอบ/อาคารประกอบ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน จะต้องจัดห้องประกอบ/อาคารประกอบที่จำเป็นดังต่อไปนี้ - ห้องผู้บริหาร - ห้องธุรการ/การเงิน - ห้องพักครู - ห้องพยาบาล - ห้องพยาบาล(แยกชาย-หญิง) - ห้องสมุด - ห้องวิทยาศาสตร์ - ห้องวิชาการ/วัดผลประเมินผล - ห้องปกครอง/แนะแนว - ห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขา - ห้องสุขา - โรงฝึกงาน - โรงอาหาร การจัดห้องประกอบและห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขา ควรให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของประเภท/สาขานั้น ๆ โดยคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอยที่นักเรียนจะได้รับรวมถึงความสะดวกสบาย ปลอดภัย ของผู้ใช้เป็นสำคัญ การเลือกหลักสูตร/ประเภท/สาขาวิชา หลักสูตรอาชีวศึกษาที่ใช้อยู่ในขณะนี้มี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546) - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค พุทธศักราช 2533 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2540 - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 หลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2538 สายวิชาช่างอุตสาหกรรม - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2535 สายวิชาช่างอุตสาหกรรม - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2536 สายวิชาบริหารธุรกิจ - หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2536 สายวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตรต่างๆ เหล่านี้จะได้รับการแก้ไขปรับปรุงตลอดเวลา ผู้ขอใช้หลักสูตรต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและทันสมัย อยู่เสมอทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีหลักสูตรของสำนักงานการศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร เนื่องจากสำนักงานการศึกษาเอกชน กำลังจัดทำและพัฒนาหลักสูตรภายใต้กรอบที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติการพิจารณาเลือกใช้หลักสูตรระหว่างหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษาและของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลขึ้นอยู่กับความประสงค์ และมุมมองของผู้บริหาร ทั้งนี้เพราะหลักสูตรทั้งสองหลักสูตรนี้มีความเหมาะสมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแต่อาจมีแนวทางในการพิจารณา เช่น - ใช้หลักสูตรเดียวกันกับสถานศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อการเทียบโอน เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนซึ่งกันและกัน - ใช้หลักสูตรที่แตกต่างจากสถานศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับนักเรียนนักศึกษา - ในโรงเรียนเดียวกันควรใช้หลักสูตรเดียวกันทุกระดับเพื่อความต่อเนื่อง และสอดคล้องเนื้อหาเดียวกัน การจัดทำแผนการเรียน ผู้ขอจัดตั้งโรงเรียน ต้องหมอบหมายผู้รับผิดชอบด้านวิชาการจัดทำแผนการเรียน เพื่อเสนอขอรับการพิจารณา ซึ่งถ้าหากจัดได้ถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตรก็สามารถนำไปเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนได้ การจัดทำแผนการเรียน ควรให้ความสำคัญกับการจัดรายวิชาที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร การเลือกรายวิชา ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนในระดับต่อไป การจัดลำดับรายวิชาก่อนหลังเป็นต้น การขอใช้ชื่อเพื่อจัดตั้งโรงเรียน การใช้ชื่อเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนควรพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้ 1. ชื่อโรงเรียนต้องเป็นภาษาไทย และมีคำว่า "โรงเรียน" หน้าชื่อ หากมีชื่อภาษาอังกฤษต้องเขียนทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษโดยเขียนชื่อภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อไป 2. ไม่เป็นชื่อซ้ำกับชื่อโรงเรียนลักษณะและหรือประเภทเดียวกัน หรือชื่อโรงเรียนที่เลิกดำเนินกิจการไปแล้ว จนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นโรงเรียนเดียวกัน 3. ชื่อโรงเรียนควรสอดคล้องกับหลักสูตรหรือประเภทของโรงเรียน 4. การใช้ชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการเขียนชื่อย่อต้องขออนุญาตก่อน 5. กรณีจะขอใช้ชื่อ แต่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หรือไม่ ให้ทำหนังสือ ขอหารือมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ความช่วยเหลือพิเศษจากรัฐ เป็นที่หน้ายินดี ที่รัฐได้ให้การส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อให้มีการจัดตั้งสถานศึกษาเอกชนที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น รัฐ จึงเปิดโอกาสให้เอกชนกู้เงินมาลงทุนจัดการศึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เน้นสาขาวิชาชีพ ที่ขาดแคลน ซึ่งโรงเรียนที่ขอจัดตั้งใหม่จะต้องอยู่ภายใต้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1. มีที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ( จังหวักนครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี ) 2. ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนจะต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น 3. ต้องมีนักเรียนที่ถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดของโรงเรียน 4. ต้องจัดทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน นักเรียนทั้งหมด 5. ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 6. ต้องจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้ ข้อมูลสำหรับการจัดทำโครงการ การจัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้ จะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านการจัดการ 1. ความเป็นมาของโครงการ 2. วัตถุประสงค์ 3. ประเภท 1 ระดับการศึกษาหลักสูตร / สาขาวิชา 4. ทำเลที่ตั้ง แผนผังบริเวณสถานศึกษา แผนผังอาคารเรียน อาคารประกอบจำนวนห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน 5. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกสารรับรองหรือการอนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุ 6. โครงสร้างองค์กร 7. เจ้าของผู้ดำเนินการ 8. แผนการจัดหาและแผนพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา 9. ประวัติของคณะกรรมการการบริหาร 10. แผนการรับนักเรียนนักศึกษา 11. อัตราค่าธรรมเนียมการเรียน 12. แผนการให้ทุนแก่นักเรียนนักศึกษา 13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 14. หลักฐานการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และรายงานผลการประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านการเงิน 1. เงินลงทุนในโครงการ (1) การลงทุนในโครงการ (2) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดก่อนดำเนินงาน (3) เงินหมุนเวียนที่ต้องใช้ในโครงการ (4) เงินทุนสำรอง (5) กำหนดการในการลงทุน 2. การจัดหาเงินและโครงสร้างเงินลงทุน (1) เงินลงทุนในส่วนของผู้ดำเนินการ (2) เงินกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ (3) เดรดิตที่ได้รับจากสถาบันการเงินอื่น 3. ความเป็นไปได้ทางการเงิน (1) งบประมาณการทางการเงิน (2) งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี ( กรณีเป็นสถานศึกษาอยู่แล้ว ) (3) สำเนา Statement จากธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (4) ข้อมูลหลักประกันในการกู้ยืม (5) ข้อมูลเงื่อนไขและสิทธิพิเศษที่ได้รับรายละเอียดต่างๆ ในการจัดทำโครงการสนับสนุนเงินกู้ ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารแนะนำ การขอกู้เงินเพื่อจัดตั้ง / ขยาย / พัฒนาโรงเรียน ข้อมูลต่างๆ ที่บรรจุ ในโครงการนี้จะต้องละเอียด ชัดเจน ครบถ้วน เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการพิจารณานั่นเอง พึงระมัดระวังว่า การยื่นโครงการการสนับสนุนเงินกู้ เป็นคนละส่วนกับการยื่นคำขอเพื่อจัดตั้งโรงเรียน ผู้จัดตั้งโรงเรียนจะต้อง ยื่นคำขอจัดตั้งภายในเวลาที่กำหนดด้วย กำหนดการยื่นคำขอจัดตั้งโรงเรียน การยื่นคำขอจัดตั้งโรงเรียนโดยทั่วไปจะต้องยื่นภายในกำหนดดังนี้ 1. ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ของปีที่จะเปิดทำการสอนสำหรับภาคเรียนที่ 1 2. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม สำหรับทำการเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 เอกสารประกอบการขออนุญาตจัดตั้ง โรงเรียน/ คำอธิบายการจัดทำในการจัดทำเอกสารประกอบการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนจะต้องมีเอกสารของบุคคล 3 ตำแหน่ง รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับยื่นคำขอพร้อมกันคือ เอกสารของผู้รับใบอนุญาต ผู้จักการ และครูใหญ่ ซึ่งในการยื่น คำร้องทุกครั้งเอกสารประกอบทุกฉบับต้องรับรองสำเนาและแสดงเอกสารฉบับจริง ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย การจัดเอกสาร ของผู้บริหารในแต่ละตำแหน่งให้จัดเรียงตามลำดับ เพื่อสะดวกแก่การรวบรวม/ ตรวจสอบ / และพิจารณา สำหรับจำนวน เอกสาร ที่จะต้องยื่น นั้นให้จัด 2 ชุด (ตัวจริง - สำเนา ) ต่อไปนี้คือรายละเอียดเอกสารประกอบของแต่ละตำแหน่ง ก. เอกสารประกอบในตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต 1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช. 1) 2. โครงการจัดตั้งโรงเรียนพร้อมเอกสาร - แผนผังอาคารสถานที่ / ห้องเรียน / ห้องประกอบการ - การแบ่งเวลาเรียน - ระเบียบการ - บัญชีอุปกรณ์ที่โรงเรียนจัดไว้ - รายชื่อบุคลากรที่โรงเรียนจัดไว้เพื่อทำการสอนในโรงเรียน - แผนการเรียน - รายชื่อหนังสือในห้องสมุด 3. แบบรายงานประวัติย่อของผู้รับใบอนุญาต 4. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน ( สำเนาโฉนด / น.ส. 3 ก. ถ้าเป็นที่เช่าต้องแบบสัญญาเช่าด้วย ) 5. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน 6. หลักฐานแสดงความรู้ 7. หลักฐานที่แสดงว่ามีสัญชาติไทยโดยการเกิด เช่น สุติบัตร หรือหนังสือรับรองของนายทะเบียนท้องถิ่น หรือ ส.ด. 9 หรือ หนังสือเดินทางไทย 8. รูปถ่ายขนาด 5 x 6 เซนติเมตร ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 รูป 9. ภาพถ่ายบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน 10. หนังสือยินยอมของสามี หรือภรรยาให้ดำเนินสกิจการโรงเรียน 11. หนังสืออนุญาตให้ก่อสร้างหรือหนังสือรับรองอาคาร 12. แบบคำขอ ร. 11 เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ทั้งนี้ หากผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเป็นนิติบุคคลจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเอกสารด้วย ในการกรอกข้อความใน สช. 1 ต้องกรอกข้อความในช่องที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลในข้อ 1.2 เท่านั้น ข้อ 1.1 ไม่ต้องกรอกและจะต้องเพิ่มเติมเอกสาร คือ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าเป็นนิติบุคคล ซึ่งนิติบุคคลที่จะเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนได้ต้องมีการระบุหรือกำหนดในรายงานการประชุม ผู้ถือหุ้นว่าผู้ใดมีอำนาจลงนามแทนในฐานะเจ้าของโรงเรียนแทนนิติบุคคล นั้นด้วย การเขียนโครงการจัดตั้งโรงเรียนต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อโรงเรียนที่เป็นภาษาไทย 2. ประเภทและระดับของโรงเรียน 3. วัตถุประสงค์ 4. แผนผังแสดงสถานที่ บริเวณโรงเรียน อาคารเรียน และอาคารประกอบการในแต่ละหลังแต่ละชั้น 5. จำนวนเงินทุนประเดิม และทรัพย์สินที่จะใช้ในการจัดตั้งโรงเรียน 6. การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ 7. หลักสูตรและแผนการเรียน 8. ระเบียบการของโรงเรียน 9. รายละเอียดการจัดสวัสดิการแก่บุคลากรในโรงเรียน 10. การขอความช่วยเหลือทางวิชาการหรือการเงินจากสถาบันในประเทศ หรือต่างประเทศ 11. วันที่โรงเรียนจะเปิดทำการสอน การเขียนระเบียบการของโรงเรียนต้องมีรายละเอียดดังนี้ 1. การรับนักเรียน 2. หลักฐานการรับสมัคร 3. การจำหน่าย 4. หลักสูตรและวิชาที่สอน 5. ชั้นเรียน 6. เวลาเรียน 7. วันหยุด 8. การวัดผลประเมินผล 9. การออกประกาศนียบัตร 10. การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน 11. การแต่งกาย อนึ่ง นอกจากการกรอกรายการในคำขอต่างๆ แล้ว เอกสารหลักฐานของผู้ยื่นก็จะต้องจัดเตรียมและนำมาแนบเรื่องให้ครบถ้วนด้วย ข. เอกสารประกอบในตำแหน่งผู้จัดการ 1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 4) 2. หลักฐานที่แสดงว่ามีสัญญาไทยโดยการเกิด ( ทั้งนี้หากไม่มีสูติบัตรก็อาจใช้หลักฐานอื่นแทนได้ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต) 3. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน 4. หลักฐานแสดงความรู้ ( ตามที่ระบุไว้ว่าจบการศึกษาระดับใดจากที่ใด) 5. ใบรับรองแพทย์ ( ที่เป็นปัจจุบันอย่างน้อยไม่ควรมีอายุเกิน 1 เดือน) 6. ภาพถ่ายบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน 7. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 4x6 เซนติเมตร ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 6 รูป 8. หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการ ผู้รับใบอนุญาต 9. สัญญาจ้างการเป็นผู้จัดการ ( ซึ่งอาจใช้รูปแบบของสัญญาการเป็นครูใหญ่ และครู โดยอนุโลม ค. เอกสารประกอบในตำแหน่งครูใหญ่ 1. แบบคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ (สช. 7) 2. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ตามมาตรา 3. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน 4. หลักฐานแสดงความรู้และประสบการณ์โดยจะต้องเป็นหลักฐานแสดงความรู้ วุฒิทางครู เช่น กศบ. คบ. และแนบสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวครู หรือบัตร ร. 8 ข. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวเคยเป็นครูมาแล้วเป็นเวลากี่ปี หรือหากเป็นครูโรงเรียนรัฐบาลก็ต้องมีหลักฐานสำเนาประวัติข้าราชการ พร้อมแนบหลักฐานการอนุมัติให้ลาออกจากราชการด้วย 5. ใบรับรองแพทย์ ( ที่เป็นปัจจุบันอย่างน้อยไม่ควรมีอายุเกิน 1 เดือน) 6. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประชาชน 7. รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4x6 เซนติเมตร ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 6 รูป 8. สัญญาการเป็นครูใหญ่ 9. หลักฐานการแต่งตั้งครูใหญ่จากผู้จัดการ โดยความเห็นชอบของผู้รับใบอนุญาต สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ( English Program)
การขอเปิดสอนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ
โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(1) ที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียน
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เอกสารประกอบการพิจารณา 1. คำร้องขอเปิดสอนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (ร. 11) 2. คำร้องขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและหรือค่าธรรมเนียมอื่น (ร. 11) 3. โครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 4. สำเนาใบอนุญาตเกี่ยวกับจำนวนห้องเรียนและความจุนักเรียน 5. แผนผังอาคารเรียน ห้องเรียนและห้องประกอบ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. ยื่นคำร้องพร้อมเอกสารประกอบต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ โรงเรียนตั้งอยู่ 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการและตรวจสอบความพร้อมของอาคารสถานที่ อุปกรณ์ และประเมินผลการตรวจสอบ 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สรุปผลการประเมินการตรวจสอบพร้อมโครงการ โดยจัดทำเอกสารโครงการจำนวน 13 ชุด ส่งไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามถึงเลขาธิการ 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาอนุมัติโครงการ 5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ส่งโครงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติแล้วไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาวิเคราะห์ สรุปข้อมูลนำเรื่องส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามอนุญาตและออกเลขที่ ใบอนุญาต 7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งการอนุญาตให้โรงเรียนทราบและเก็บสำเนาใบอนุญาตไว้เป็นหลักฐาน 1. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก 1065/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เรื่องให้ใช้นโยบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษา ธิการเป็นภาษาอังกฤษ 2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ โรงเรียนประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา เหมือนเรื่องจัดตั้งโรงเรียน โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(2) ที่จัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เอกสารประกอบการพิจารณา 1. คำร้องขอใช้ภาษาต่างประเทศเป็นสื่อการสอน (ร. 11) 2. คำร้องขอเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน (ร. 11) 3. คำร้องขอเปลี่ยนแปลงระเบียบการ ( ร. 11) 4. รายชื่อครูผู้สอน พร้อมวุฒิการศึกษา 5. สำเนาใบอนุญาตเกี่ยวกับจำนวนห้อง วิชาที่เปิดสอน 6. แผนผังอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องประกอบ 7. ระเบียบการ หลักสูตร ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. โรงเรียนยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ โรงเรียนตั้งอยู่ 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สรุปผลการตรวจสอบส่งไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ลงนามเสนอเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนพิจารณาอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบ 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนแจ้งผลการพิจารณาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ และดำเนินการนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบอนุญาต
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 50 2. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สช 602/2538 สั่ง ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2538 เรื่อง มอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาเอกชน และผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน 3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาและประเภทศิลปศึกษาหลักสูตรของ โรงเรียน พ.ศ. 2546 โรงเรียนเอกชนมาตรา 15(2) ประเภทเฉพาะกาล(นานาชาติ) ประเภทกวดวิชาวิชา ( ไม่พบข้อมูล ) ประเภทศิลปศึกษา-อาชีวศึกษา ( ไม่พบข้อมูล ) การขอจัดตั้งโรงเรียนประเภทสอนศาสนาอิสลาม ต้องยื่นคำร้องขอจัดตั้งโรงเรียน , ขอบรรจุผู้จัดการ , ครูใหญ่และครู ( ก) การขอเป็นผู้รับใบอนุญาต ต้องยื่นเอกสารดังนี้ 1. แบบ สช. 1 รวม 2 ฉบับ 2. แบบรายงานการตรวจสถานที่ 2 แผ่น 3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารเรียน ถ้าเป็นที่เช่าแนบสัญญาเช่าเพิ่มเติมด้วย พร้อมสำเนาและฉบับจริง 4. สำเนาทะเบียนบ้านและฉบับจริง 5. ระเบียบการ หลักสูตร และอัตราเวลาเรียน รายการละ 5 ชุด ต้องให้เจ้าของ(ผู้รับใบอนุญาต) ผู้จัดการ และครูใหญ่ ลงนามกำกับทุกชุด 6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 3 รูป 7. แบบ ร. 11 ขอเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการเรียน 8. สูติบัตรหรือเอกสารรับรองการมีสัญชาติไทยโดยการเกิดจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น หรือ สด. 9 หรือหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ฯลฯ 9. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญไม่ต่ำกว่าชั้น ป. 6 และวุฒิวิชาศาสนา) และฉบับจริง 10. โครงการขอจัดตั้ง จำนวน 10 ชุด ( ข) การขอเป็นผู้จัดการ ต้องยื่นเอกสารดังนี้ 1. แบบ สช. 4 รวม 2 ฉบับ 2. สำเนาทะเบียนบ้าน และฉบับจริง 3. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญไม่ต่ำกว่าชั้น ป. 6 และวุฒิวิชาศาสนา) และฉบับจริง 4. แบบใบรับรองแพทย์ 5. สัญญาว่าจ้าง 3 ฉบับ 6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 6 รูป 7. สูติบัตรพร้อมสำเนา หรือเอกสารรับรองการมีสัญชาติไทย โดยการเกิดจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น ( ค) การขอเป็นครุใหญ่ ต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ 1. แบบ สช. 7 รวม 2 ฉบับ 2. สำเนาทะเบียนบ้าน และฉบับจริง 3. สำเนาวุฒิบัตร(วุฒิสามัญและวุฒิวิชาศาสนาไม่ต่ำกว่าชั้นสูงสุดที่โรงเรียนเปิดสอน) และฉบับจริง 4. ประสบการณ์เป็นครุมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี 5. แบบสัญญาจ้าง 3 ฉบับ 6. แบบใบรับรองแพทย์ 7. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 5x6 ซม. รวม 8 รูป
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๗
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น