ระดับประถม/มัธยมศึกษา สิงคโปร์
ระดับการศึกษาก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และจูเนียร์ คอลเลจ/เตรียมอุดมศึกษา
1. การศึกษาก่อนวัยเรียน
การศึกษาตามปกติจะเริ่มเมื่อเด็กอายุได้ 4 ปี เด็กอายุระหว่าง 4-6 ปี จะเข้ารับการศึกษาก่อนวัยเรียน ซึ่งมีโรงเรียนอนุบาลทั้งของรัฐและเอกชน โดยเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ราว 3-4 ชั่วโมงในแต่ละวัน เรียน 2 คาบต่อวัน
2. โรงเรียนประถมศึกษา
เด็กอายุ 7-12 ปี ทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปีในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 วิชาในระดับนี้ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ (Mother Tongue อันได้แก่ ภาษาจีน มาเลย์ หรือ ทามิล ตามเชื้อชาติของตนเอง) วิทยาศาสตร์ (เรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 3 ) คณิตศาสตร์ ดนตรี ศิลปหัตถกรรม และการแกะสลัก วิชาพลเมืองและศีลธรรม สุขศึกษา สังคมศึกษา และฟิสิกส์ เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 6 นักเรียนจะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) คะแนนที่ได้จะตัดสินว่านักเรียนจะเรียนต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนใด
3. โรงเรียนมัธยมศึกษา
นักเรียนที่อายุตั้งแต่ 13-16/17 ปี จะเข้ารับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีทั้งหมด 5 แผน คือ หลักสูตร Special, Express, Normal, Integrated และ Specialised Program นักเรียนในแผนการเรียน Special และ Express เมื่อเรียนจบในปีที่ 4 แล้วต้องเข้าทำข้อสอบระดับ ‘O’ levels (United Kingdom Cambridge ‘Ordinary’ Levels) สำหรับนักเรียนในแผนการเรียน Normal เมื่อเรียนจบในปีที่ 4 ต้องเข้าทำข้อสอบระดับ ‘N’ levels นักเรียนกลุ่มนี้จะสามารถเข้าสอบระดับ ‘O’ levels ได้ในปีถัดไป หากผลสอบของ ‘N’ levels อยู่ในระดับที่ดีพอ
หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาแม่ (จีน มาเลย์ หรือทามิล) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่า ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน
หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาแม่ (จีน มาเลย์ หรือทามิล) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในสิงคโปร์ได้รับการยอมรับในระดับโลกว่า ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และมีความคิดสร้างสรรค์ การรับนักเรียนต่างชาตินั้นขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละโรงเรียน
4. จูเนียร์ คอลเลจ/ เตรียมอุดมศึกษา
เมื่อนักเรียนสอบ GCE ‘O’ Level ผ่านได้แล้ว นักเรียนสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับจูเนียร์ คอลเลจเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralised institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จูเนียร์ คอลเลจ และสถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบจูเนียร์ คอลเลจ นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education ‘Advanced’ (GCE ‘A’ Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า การรับนักเรียนต่างชาติก็ขึ้นอยู่กับที่นั่งว่างในโรงเรียนเช่นกัน
ผลสอบระดับ ‘A’ levels นี้จะเป็นตัวตัดสินว่า นักเรียนจะไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษาได้หรือไม่ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยแห่งชาติให้เลือก 4 แห่ง กล่าวคือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (SMU) มหาวิทยาลัยการจัดการระหว่างประเทศสิงคโปร์ (SIM) นักเรียนสามารถเลือกที่จะเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร ในโรงเรียนโพลีเทคนิคแห่งใดแห่งหนึ่งใน 5 แห่ง (เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา) หรือเรียนในสาขาวิชาชีพที่สถาบันเทคนิคศึกษา (ITE) ซึ่งเป็นสถาบันระดับเตรียมอุดมศึกษา
ค่าเล่าเรียน
สำหรับโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนที่สนับสนุนโดยรัฐบาล ค่าเล่าเรียน ปี 2013 ต่อเดือนจะเป็นดังนี้
- ชั้นประถม 350 เหรียญสิงคโปร์
- ชั้นมัธยม 450 เหรียญสิงคโปร์
- ชั้นจูเนียร์ คอลเลจ/ เตรียมอุดม 650 เหรียญสิงคโปร์
เทอมการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ ปี 2013
Semester 1 | |
เทอม 1 | 2 มกราคม – 15 มีนาคม |
เทอม 2 | 25 มีนาคม – 31 พฤษภาคม |
Semester 2 | |
เทอม 3 | 1 กรกฎาคม – 6 กันยายน |
เทอม 4 | 16 กันยายน – 22 พฤศจิกายน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น