- เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- วันนี้เลยหยิบ "ประวัติเรื่องข้าวไทย" มาฝากค่ะ
- เนื่องวันพืชมงคล หรือ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันนี้เลยหยิบ "ประวัติเรื่องข้าวไทย" มาฝากค่ะ
เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าวซึ่ง...เป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่แสดงให้เห็นว่า สยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ
ข้าวที่มีในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มี 3 ชนิด คือ เมล็ดป้อม เมล็ดใหญ่ และเมล็ดเรียง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์มีการปลูกข้าว ดังนี้
1. สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และเมล็ดใหญ่
2. สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคใต้ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม และข้าวจ้าว
3. สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 12-18) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ ในภาคกลางนิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวจ้าว
4. สมัยเชียงแสนและล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 16-23) อาณาจักรมีความรุ่งเรืองอยู่ที่บริเวณภาคเหนือ นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาว ปลูกข้าวจ้าวน้อยกว่าข้าวเหนียว
5. สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) อาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย นิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อม ข้าวเหนียวเมล็ดยาวบ้าง และเริ่มปลูกข้าวจ้าวมากขึ้น
6. สมัยอยุธยา ระยะแรกปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก เริ่มปลูกข้าวจ้าวมากในช่วงปลายสมัยอยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นข้าวเหนียวที่ปลูกสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
7. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปลูกข้าวจ้าวเมล็ดยาวอย่างที่ปลูกในปัจจุบัน ส่วนข้าวเมล็ดป้อมพบว่าปลูกกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขอบคณที่มา และอ่านเพิ่มได้ที่ : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/rice/04.html ดูเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น