|
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554
ESL Progress ~ Homophones / Japan / Phrases
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554
โอกาสมาถึงแล้ว แต่ขึ้นกับว่า ลูกผู้ชายอย่างเรา ใจสู้..หรือเปล่า..?
ถ้าเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้รู้เรื่องราวของการบวช
แสดงว่าเป็นผู้ที่สั่งสมบุญในอดีตมามาก
เพราะถ้ามีบุญไม่มากพอ ก็จะไม่ได้ข่าวการบวช
หรือคงจะไม่มีคนมาชวนเราบวช
ถึงขนาดนี้ ถ้าบุญน้อยจะไม่ได้ยินเรื่องราวเหล่านี้เลย
แถมจะไปติดอะไรก็ไม่รู้ ติดนั่น ติดนี่ มีเงื่อนไขในชีวิตสารพัด
มีอะไรพะรุงพะรังมากมายที่เป็นเหตุผล ทำให้เราไม่ได้บวช
แต่หากเราคิดว่าการบวชเป็นสิ่งที่ดี ก็น่าจะลองบวชดู
เพราะการบวชไม่ใช่สิ่งที่เสียหายอะไรเลย นอกจากตัวเราเองจะได้บุญแล้ว
พ่อแม่ญาติพี่น้องและบรรพบุรุษของเราก็จะพลอยได้บุญไปด้วย
แม้การบวชจะลำบากสักหน่อย แต่ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายแล้ว
จะกลัวอะไรกับความลำบากเพียงแค่นี้ ..หากสบาย บุญบารมี
จะเกิดได้อย่างไร ไม่มีอะไรในโลกที่ได้มาฟรี ๆ เราต้องอดทน
ฝึกฝนอบรมตนเองทุกรูปแบบ ถึงจะได้บุญบารมีมาเป็นของเรา
วันนี้เราโชคดี..ที่เกิดมาเป็นลูกผู้ชาย แต่สำคัญที่ว่า..ใจ
สู้หรือเปล่า หากสู้..ก็จะได้บุญตรงนี้ไปมาก หากไม่สู้..ชีวิตแห่ง
ความเป็นชายก็แทบจะเป็นโมฆะ เพราะเราไม่ให้โอกาสตัวเอง
ในการทำหน้าที่ของลูกผู้ชาย ด้วยการทำความดีอย่างยิ่งยวด
คือ การบวชพระ ในขณะที่เพศภาวะอื่นทำไม่ได้
โอกาสมาถึงแล้ว แต่ขึ้นกับว่า ลูกผู้ชายอย่างเรา
ใจสู้..หรือเปล่า..?
วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
Looking for Good Teachings
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เทคนิคการสอนให้สนุก สอดแทรกอารมณ์ขัน
เทคนิคการสอนให้สนุก สอดแทรกอารมณ์ขัน
(ข้อความจาก บันทึกการเรียนการสอนแต่ละสัปดาห์ โดย SUPAWADEE BPIWK)
ก่อนอื่น คุณครูต้องปรับบุคลิกให้สดชื่น น่าเข้าใกล้ อารมณ์ดี สอนนักเรียนโดยนำตัวอย่างที่ใกล้ตัวเด็ก เล่าเรื่องสนุก ๆให้ฟังบ้าง ผ่อนคลายบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นกันเองและรื่นเริง อย่าดุหรือเข้มงวดเกินไป เด็กจะเครียด กลัวและฝ่อทำให้เกลียดครู เกลียดวิชาในเรื่องนั้นไปได้ เด็กทุกชั้นไม่ว่าเด็กเล็กหรือระดับโต ไม่ชอบฟังนาน ๆ จะทำให้ง่วงและหลับได้ คุณครูควรแทรกกิจกรรมในชั้นเรียน ให้เขามีส่วนร่วมบ้าง
ห้องก็จะบันเทิง วิชาจะดูน่าเรียนขึ้น อย่าชิงโมโหเสียก่อน เวลานักเรียนกวน อย่าลืมยิ้มให้กับนักเรียนบ่อยๆ
สิ่งสำคัญ ครูจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างกระจ่างแจ้ง
สามารถตอบคำถามทุกคำถามแก่นักเรียนได้
เป็นผุ้รอบรู้ และรู้รอบ ซึ่งแสดงให้นักเรียนเห็นจนเกิดเป็นความศรัทธา
เช่น เป็นคนตั้งใจจริง มีความสุขทุกครั้งที่อยู่ในห้องสอน
เมื่อนั้น...สิ่งที่ครูอยากจะสอน แม้เรื่องจะยาก เรื่องอาจไม่สนุก
นักเรียนก็จะใส่ใจ สนใจ เพราะเขาศรัทธา และเคารพความตั้งใจจริงในการสอนของครู
ตัวครูก็ต้องเข้าใจที่จะสอดแทรกอารมณ์ขัน แม้จะเป็นเรื่องที่เป็นหลักการ
เทคนิคการสอนแบบต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสอดแทกการสอนที่มีอารมณ์ขัน
1. Discussion Method การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย คือกระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบ แนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงานและชื่นชมผลงานร่วมกัน
2. Small Group Discussion การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยคือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4 – 8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ประสบการณ์ในประเด็นหรือปัญหาที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
3. Demonstration Method การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต คือ กระบวนการที่ผู้สอน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อม ๆกับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต กระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้น ๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น
1. Role Playing การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาท หรือแสดงบทบาทนั้นตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของผู้เรียนที่คิดว่าควรจะเป็น ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมุติจะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงออกทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
5. Dramatization การจัดการเรียนรู้ โดยใช้การแสดงละคร คือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงบทบาทหรือสมมุติว่าตนเองเป็นหรือแสร้งทำเป็นตัวเขาเองหรือบุคคลอื่นหรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง โดยจะต้องแสดงบทบาทการใช้ภาษา แสดงสีหน้า ท่าทางกับการเคลื่อนไหวประกอบการสนทนาตามบทละครที่แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว และผู้แสดงจะไม่นำบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของตนเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดผลเสียหายต่อการแสดงบทบาทนั้น ๆ วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการที่จะเข้าใจในความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมของผู้อื่น และจะสามารถจดจำเรื่องราวนั้นได้นาน
6. Simulation การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง คือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพความจริงมากที่สุดทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์โดยมีการกำหนดบทบาท ข้อมูลและกติกาไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับประกอบกับวิจารณญาณของตนเองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์นั้นให้ดีที่สุด ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสถานการณ์จำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดีและสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
7. Game การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกมที่มีกฎเกณฑ์กติกา เงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง เป็นการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมีการนำเนื้อหา ข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผลการเล่นเกมมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปผลการเรียนรู้
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ลิขสิทธิ์การสอน
ลิขสิทธิ์การสอน
พระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองการสอนของครู/อาจารย์ที่ทำการสอน เว้นแต่ถ้าครู หรืออาจารย์ผลิตสื่อการสอนในรูปของโสตทัศนวัสดุ หรือ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จึงจะคุ้มครอง สำหรับการสอนสด ๆ ในห้องเรียนของครูจึงไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์
แต่ถ้าเป็น "นักแสดง" ตามความหมายในบทบัญญัติในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายความว่า “ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และ ผู้ซึ่งแสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด” บุคคลเหล่านี้ จะได้รับการคุ้มครองในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิของนักแสดง
ในมาตรา 45 ได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงซึ่งได้นำออกเผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการ ค้าแล้ว หรือนำสำเนาของงานนั้นไปแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยตรง ให้ผู้นั้นจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่นักแสดง....”
การสอนไม่ใช่การแสดง
ในเมื่อการสอนไม่ใช่การแสดง และผู้สอน ไม่เป็นผู้แสดงตามความหมายของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้นเมื่อมีการบันทึกเสียง บันทึกภาพ และวีดิทัศน์ ที่ครู/อาจารย์กำลังสอนอยู่ในชั้นเรียน แล้วนำไปเผยแพร่จึงไม่อาจเข้าข่ายได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่อาจได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายอาญา หรือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งต้องนำมาปรับใช้กับพฤติการณ์ของการกระทำในแต่ละกรณี หรือ การใช้ระเบียบ ข้อบังคับ ของแต่ละประเภทของสถานศึกษามาบังคับใช้ เนื่องจากยังไม่มีกฏหมายโดยตรงที่ให้สิทธิของครู/อาจารย์หรือผู้สอนมีสิทธิ์ แต่ผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการสอนของตนในการเผยแพร่ บันทึก ทำซ้ำ
ในบางสถานศึกษานั้นการบันทึกการสอนของครู/อาจารย์ด้วยเครื่องบันทึกภาพและ เสียงเป็นสิ่งที่เป็นปกติวิสัย เช่น ในมหาวิทยาลัยที่ไม่จำกัดจำนวนรับ หรือมีลักษณะของการดำเนินการของมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา แต่ในโรงเรียน วิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัยทั่วไปที่มีชั้นเรียนและมีครู/อาจารย์สอนในแต่ละรายวิชานั้นการ จดบันทึกบนกระดาษหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกด้วยภาษาของตนเองเป็นสิ่ง ปกติวิสัยในระบบการเรียนการสอน แต่การบันทึกด้วยเครื่องบันทึกเสียง และวีดิทัศน์ ไม่เป็นสิ่งปกติวิสัยในการเรียนการสอน
แต่อย่างไรก็ตาม โดยสามัญสำนึกแล้ว การจะบันทึกด้วยเครื่องมือบันทึกภาพและเสียงหรือวีดิทัศน์ในสิ่งที่ ครู/อาจารย์สอนในชั้นเรียนนั้นต้องขออนุญาตจากผู้สอน ถ้าผู้สอนไม่อนุญาตก็ไม่ควรบันทึก การลักลอบบันทึกโดยที่ครู/อาจารย์ไม่ทราบและไม่อนุญาตนั้นเป็นการฝ่าฝืน ครู/อาจารย์มีอำนาจลงโทษได้ตามข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งและแต่ละระดับ
นอกจากการบันทึกการสอนของครู/อาจารย์โดยผู้เรียนแล้ว สถานศึกษาและหน่วยงานในสถานศึกษาบางแห่งยังมีการชักชวนให้ครู/อาจารย์ให้มี การบันทึกวีดิทัศน์การสอนของอาจารย์เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้เรียน หรือผู้สนใจและนำขึ้นเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตให้ผู้สนใจเข้ามาโหลดไปได้ฟรี อีกด้วย
ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการทำให้ผลงานการสอนของอาจารย์ผู้นั้นเป็นของสาธารณะ หรือ เป็น “Public domain” ซึ่งจะไม่ได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด ผลงานต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตโดยส่วนมากแล้วเป็น Public domain และไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธ์ เว้นแต่จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนและมีการป้องกันการทำสำเนาหรือนำไปใช้ไว้ พอสมควร
การสอนที่มีราคา
การสอนของครู/อาจารย์นั้นเป็นความสามารถส่วนตัวที่สั่งสมมาด้วยความอุตสาหะ การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีการสอน การเรียนรู้ และมีการฝึกฝนจนชำนาญ ผู้ที่ทำการสอนมานานย่อมมีประสบการณ์ในการสอนสูง สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างแยบคาย กลวิธีการสอนจึงเป็นความสามารถ เป็นการใช้ศาสตร์และศิลป์ หรือสมรรถนะเฉพาะตัวของครู/อาจารย์ที่ทำการสอนแต่ละท่าน การสอนของครู/อาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็น “ผู้สอน” เหล่านั้นมีคุณค่าและควรได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายและให้มีค่าตอบแทนให้กับ ”ผู้สอน” ที่เป็นธรรม ซึ่งสมควรได้รับไม่แตกต่างจาก “นักแสดง”
ในโรงเรียนกวดวิชา หรือโรงเรียนที่ทำการสอนพิเศษ หรือติวเข้มให้กับผู้เรียน จะมีครู/อาจารย์ที่มีความสามารถในการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่าง รวดเร็ว และสร้างความประทับใจให้กับผู้เรียนอย่างมาก จึงมีผู้นิยมมาเรียนและยินดีจ่ายค่าเรียนในราคาสูงเพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ ต้องการ การสอนจึงมีราคาและไม่ได้มาฟรี ๆ ดังนั้นการบันทึกวีดิทัศน์การสอนของครู/อาจารย์ในห้องเรียนเพื่อเผยแพร่ฟรี ทางอินเตอร์เน็ต โดยหวังว่าจะให้เป็นวิทยาทานนั้น จึงควรมีการทบทวนหลักการ กระบวนการ วิธีการ และผลกระทบอย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจดำเนินการเพื่อไม่ให้กระทบกับความรู้สึกและการละเมิดสิทธิ์ของ ครู/อาจารย์เหล่านั้น
ตรงข้ามกับครู/อาจารย์ในสถานศึกษาบางท่านที่ทำการสอนตามหน้าที่ ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และไม่สร้างความประทับใจในการเรียนให้กับผู้เรียน เพราะสิ่งที่เรียนไม่ตรงกับความอยากรู้ หรือความต้องการของผู้เรียนในการสอบเพื่อแข่งขันกันเข้าเรียนต่อ การสอนของครู/อาจารย์เหล่านั้นก็ไม่มีคนสนใจจะนำไปเผยแพร่เช่นกัน
ลิขสิทธ์สื่อการสอนกวดวิชา
โรงเรียนกวดวิชามีการสอนที่ผู้เรียนต้องการ เป็นการสอนมีราคา และมีลิขสิทธ์สื่อการสอน ที่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 คุ้มครอง รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ์อย่างดีจากโรงเรียนหรือ สถาบันกวดวิชาทุกแห่ง เพราะคุณค่าของสื่อการสอนและวิธีการสอนในโรงเรียนกวดวิชานั้นเป็นเครื่องมือ สำหรับการดำเนินธุรกิจการกวดวิชา
การกล่าวอ้างถึงการกวดวิชาว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงความล้มเหลวของการจัดการ ศึกษาทั้งระบบ และใช้เป็นเหตุผลในการกล้าวอ้างเพื่อการปฏิรูปการศึกษาในครั้งแรก แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้การกวดวิชาลดลงไปได้ ในทางตรงข้ามกลับทำให้มีการกวดวิชาเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม และในการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ที่กำลังจะดำเนินการนี้ ก็ยังมีการนำความคิดการกำจัดการกวดวิชา หรือโรงเรียนกวดวิชามาใช้เป็นเป้าหมายหรือเหตุผลของการปฏิรูปอีกครั้ง
วิธีการที่เหมาะสมจึงควรส่งเสริมคุณภาพการสอนในระบบโรงเรียนให้ดี ให้มีการพัฒนาสื่อการสอน วิธีการสอน หรือใช้เทคโนโลยีมาช่วยปรับปรุงคุณภาพการสอน โดยไม่ต้องหาทางลดจำนวนหรือจำกัดโรงเรียนกวดวิชา เพราะประโยชน์จากการพัฒนาคุณภาพของคนให้มีความรู้นั้น ไม่ว่าจะทำโดยระบบโรงเรียนหรือโรงเรียนกวดวิชาก็เกิดประโยชน์กับพลเมืองของ ชาติอยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการจะดำเนินการให้โรงเรียนกวดวิชานำสื่อการสอนของ ตนเผยแพร่ หรือนำออกจำหน่ายสู่สาธารณะด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะสามารถทำให้จำนวนของโรงเรียนกวดวิชาลดลงได้พอสมควร และลดการเดินทางของผู้เรียน ให้สามารถเรียนได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่สื่อการสอนต่าง ๆ ทั้งในรูปของวีดิทัศน์ที่มีการใช้สอนในโรงเรียนกวดวิชานั้นได้รับการคุ้ม ครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้ใดจะนำไปคัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องได้รับโทษตามบท บัญญัติของกฎหมาย
การไปเรียนรวมกันของผู้เรียนเพื่อกวดวิชานั้นยังเป็นความต้องการทางสังคมของ ผู้เรียนที่ต้องการปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มผู้มีความสนใจ ความหวัง และวัยเดียวกันอีกด้วย การมีความคิดเชิงลบกับการกวดวิชาและมองโรงเรียนกวดวิชาเป็นสิ่งไม่ดี ต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดหรือจำกัดจำนวนโรงเรียนกวดวิชา ถ้าผู้ที่มีบทบาทในการปฏิรูปการศึกษามีความคิดลักษณะนี้ เป็นการคิดที่ไม่อยู่บนฐานของความเป็นจริง และ อาจขัดกับหลักการใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ อีกด้วย
กิจกรรมการกวดวิชาหรือการสอนเสริม เรียนพิเศษ หรือติวเข้มนั้นให้ผลดีกับผู้เรียนมากกว่าผลเสีย และสามารถสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการกวดวิชาขึ้นได้เสมอตราบที่ยังมีผู้ต้องการกวดวิชาและต้องการเรียน รู้ การกวดวิชานอกจากจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนเพื่อการสอบแข่งขัน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วในรายวิชาหรือเนื้อหาที่สถานศึกษาที่ ผู้สอนไม่สามารถให้ความรู้ความเข้าใจได้ดีเท่ากับครู/อาจารย์ที่สอนใน โรงเรียนกวดวิชา นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้อาชีพการสอน หรือ ”อาชีพครู” เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้มีความสามารถในการสอนได้ไม่น้อยกว่า อาชีพอื่น ๆ สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จึงจะทำการสอนหรือประกอบอาชีพนี้ได้
รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ที่มา.http://www.kroobannok.com/35293
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กิจกรรมสวดมนต์นั่งสมาธิในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน
ได้จัดขึ้นเพื่อปลูกฝังและพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนเก่งและดีด้วยหลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน
จึงเรียนแจ้งและเรียนเชิญผู้ปกครองทุกท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ร่วมกัน
………………………………………………….
English & Math@Home Center
วันที่อังคารที่ 11 มกราคม 2554
วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
โครงการบ้านกัลยาณมิตร Change the World
โครงการบ้านกัลยาณมิตร Change the World
โครงการจัดกิจกรรมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรมและ ฟังธรรม
เพื่อเป็นการปลูกฝังศีลธรรมในกลุ่มคนทุกระดับให้มีสัมมาทิฐิ มีความรักใคร่ปรองดอง
กิจกรรมบ้านกัลยาณมิตร Change The Worldการใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร
การใช้ Pronoun คำสรรพนามภาษาอังกฤษ มีกี่แบบ ใช้อย่างไร ตารางสรุป ตัวอย่าง cr: tonamorn
-
8.Interjection คือ คำอุทานไม่มีคำของตนเอง แต่อาจนำคำอื่น เช่น วิเศษณ์ คุณศัพท์ กริยา หรือ วลี และประโยค มาพูดเพื่อแสดง...
-
Fill in the blanks with "There is" or "There are" - จงเติม There is หรือ There are